วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550


มหาวิทยาลัยโตเกียว (「東京大学」 Tōkyō Daigaku – โทเคียวไดงะคึ) เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยโตเกียวประกอบด้วยห้าศูนย์ คือฮองโงะ โคมะบะ คะชิวะ ชิโระงะเนะ และ นากาโนะ รวมถึงสิบคณะซึ่งมีนักศึกษารวมทั้งสิ้นประมาณ 30,000 คน ในจำนวนนี้มีนักศึกษาต่างชาติประมาณ 2,100 คนเป็นนักศึกษาไทยประมาณ 150 คน (ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงทีสุดในบรรดามหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น) ปัจจุบันหลักสูตรครอบคลุมสาขาวิทยาการเกือบทั้งหมดแต่มหาวิทยาลัย จะมีหลักสูตรที่เป็นจุดแข็งคือ กฎหมายและวรรณกรรม มหาวิทยาลัยแห่งนี้ผลิตนักการเมืองญี่ปุ่นจำนวนมาก นับแต่อดีตจนปัจจุบันแม้ว่าสัดส่วนจะลดลงก็ตาม อัตราส่วนของรัฐมนตรีที่เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโตเกียวยังคงสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โดยแต่ละช่วงคริสตศตวรรษจะอยู่ที่ประมาณ 2/3 1/2 1/4 1/5 และ1/6 ในช่วงคริสศตวรรษที่ 1950 60 70 80 และ 90 ตามลำดับ
มหาวิทยาลัยโตเกียวมีการเรียนการสอนที่เป็นที่ยอมรับว่า เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นสูงในหลากหลายสาขาวิชา โดยมีมหาวิทยาลัยคู่แข่งอยู่หกมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยจักรพรรดิซึ่งก่อตั้งก่อนช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หรือมหาวิทยาลัยเกียวโตซึ่งผลิตนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลมากกว่ามหาวิทยาลัยโตเกียวเสียอีก หนึ่งในศิษย์เก่าเจ้าของรางวัลโนเบลของมหาวิทยาลัยโตเกียวคืออธิการบดีมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพิเรียลชื่อ ศาสตราจารย์ คิคุจิ ไดโรกุ
ทีมเบสบอลมหาวิทยาลัยโตเกียว ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในระดับมหาวิทยาลัยของกรุงโตเกียว
ศูนย์ฮองโหงะเป็นศูนย์หลักของมหาวิทยาลัยซึ่งเดิมเป็นที่พำนักของตระกูล "มาเอดะ" ช่วงสมัยเอโดะผู้เป็นเจ้าเมืองเคหงะ สัญลักษณ์หนึ่งที่เป็นที่รู้จักและอยู่จนปัจจุบันของมหาวิทยาลัยคือ "อะกามง" (ประตูแดง) ส่วนตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเป็นรูปใบแปะก๊วย ซึ่งปลูกอยู่เรียงรายทั่วทั้งบริเวณของมหาวิทยาลัย

ประวัติ

คณะ

นิติศาสตร์และรัฐศาสตร์
แพทยศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์
มนุษยวิทยาและสังคมศาสตร์
วิทยาศาสตร์
เกษตรศาสตร์และชีวศาสตร์
เศรษฐศาสตร์
ศิลปศาสตร์และวิทยาการ
ศึกษาศาสตร์
เภสัชศาสตร์
วิทยาการคณิตศาสตร์
วิทยาการล้ำยุค
วิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ศึกษาสารสนเทศเชิงบูรณาการ
นโยบายสาธารณะ บัณฑิตวิทยาลัย

สถาบันวิทยาการเวชศาสตร์
สถาบันวิจัยแผ่นดินไหว
สถาบันวัฒนธรรมตะวันออก
สถาบันสังคมศาสตร์
สถาบันศึกษาสารสนเทศและการสื่อสารสังคม
สถาบันวิทยาการอุตสาหการ
สถาบันภูมิประวัติศาสตร์
สถาบันเวชศาสตร์โมเลกุลและเซลล์
สถาบันวิจัยรังสีคอสมิก
สถาบันฟิสิกส์สถานะของแข็ง
สถาบันวิจัยมหาสมุทร สถาบันวิจัย

บาสิล ฮอล ชามเบอร์เลียน (Basil Hall Chamberlain)
ชินนิจิ คิตาโอกะ (Shinichi Kitaoka) ผู้แทนญี่ปุ่นในสหประชาชาติ
ไดโรกุ คิคุจิ (Dairoku Kikuchi) คณาจารย์ที่มีชื่อเสียง

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

ชิเงรุ โยชิดะ (Shigeru Yoshida) (1946-1947,1948-1954)
โนบุสุเกะ คิฉิ (Nobusuke Kishi)(1957-1960)
เออิซากะ ซาโตะ (Eisaku Sato) (1964-1972)
ทะเคะโอะ (Takeo Fukuda) (1976-1978)
ยะสุฮิโหระ นากะโซเนะ (Yasuhiro Nakasone) (1982-1987)
คิอิชิ มิยาซาวา (Kiichi Miyazawa) (1991-1993) นายกรัฐมนตรี

ทะดะโตะฉิ อะกิบะ (Tadatoshi Akiba)
คิโยฉิ อิโต (Kiyoshi Itō)
เคนคิจิ อิวะซะหวะ (Kenkichi Iwasawa)
ยะสุมาสะ คาเนดะ (Yasumasa Kanada)
คุนิฮิโกะ โคไดระ (Kunihiko Kodaira)
มิคิโอะ ซาโตะ (Mikio Sato)
โกโหระ ชิมูระ (Goro Shimura)
ยูทะกะ ทะนิยาหมะ (Yutaka Taniyama)
เทจิ ทะกะหงิ (Teiji Takagi)
โทชิยาสึ ลอเรนส์ คูนิอิ (Tosiyasu L. Kunii) มหาวิทยาลัยโตเกียว นักวิทยาศาสตร์

โตโยโอะ อิโต สถาปนิก
ซูซิโล แบมแบง ยุโธโยโน่ (Susilo Bambang Yudhoyono) ประธานาธิบดีคนที่หกของอินโดนีเซีย
เลโอ เอซากิ (Leo Esaki) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล
ยะสุนะหริ คาวะบาตะ (Yasunari Kawabata) นักเขียนรางวัลโนเบล
มะสะโตชิ โคชิบะ (Masatoshi Koshiba) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล
เคนซะบุโหระ โอเอะ (Kenzaburo Oe) นักเขียนรางวัลโนเบล
เจ้าหญิงมาซะโกะ (Princess Masako) เจ้าหญิงแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยโตเกียว อื่น ๆ

ศาสตราจารย์นายแพทย์สมอาจ วงษ์ขมทอง (Som-Arch WongKhomtong) - อดีตศาสตราจารย์ประจำของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว และ อดีตผอ.สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - รองผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร ประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมจราจรและขนส่งวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คนไทย
สระน้ำซันชิโหระ ตั้งอยู่ใจกลางมหาวิทยาลัยศูนย์ฮองโหงะ ก่อสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1615 หลังจากการพังทลายของปราสาทโอซาก้า ท่านโชกุนในสมัยนั้นจึงพระราชทานสระน้ำและสวนรอบ ๆ ให้กับ"มาเอดะ โทชิทซิเหนะ" โดย"มาเอดะ ทซินะโนหริ"เป็นคนพัฒนาสวนเพิ่มเติมจนกลายเป็นสวนที่สวยงามที่สุดใน เอโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) ด้วยภูมิสถาปัตย์แบบดั้งเดิมแปดแบบแบ่งเป็นแปดบริเวณ ส่วนที่มีชื่อเสียงคือสระน้ำเทียม เนินเขา และคุ้มต่างๆ แต่เดิมรู้จักกันในชื่อว่า "อิคึโตะกุ เอ็น" ซึ่งหมายถึง"สวนแห่งการเผยแผ่พระธรรม" เส้นรอบขอบของสระน้ำจะเป็นรูปหัวใจหรือ "โคะโคะโหระ" หรือ "ชิน" ดังนั้นชื่ออย่างเป็นทางการจะเรียกว่า "อิคึโตะกุ เอ็น ชินจิอิเคะ" อย่างไรก็ตามผู้คนมักเรียกว่า สระน้ำซันชิโหระ หลังจากมีการตีพิมพ์นิยายเรื่องซันชิโหระ ของ"นัทซึเหมะ โซเซกิ"

สระน้ำซันชิโหระ

ในการ์ตูนและหนังการ์ตูนเรื่องเลิฟ ฮินะ ตัวเอกคือ เคทาโร่ อุราชิมะ เป็นนักเรียนที่พลาดการสอบเข้ามหาวิทยาลัยโตเกียวหลายหน แต่สอบได้ในท้ายสุด
การ์ตูนเรื่อง "นายซ่าส์ท้าเด็กแนว(Dragon Zakura)" เป็นเรื่องเกี่ยวกับทนายความยากจน ซึ่งเคยเป็นสมาชิกก้วนมอเตอร์ไซค์ ซึ่งพยายามสอนนักเรียนผลการเรียนแย่ ๆ ให้สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยโตเกียวได้จนจบการศึกษา
ตัวเอกในเรื่องซูเปอร์แมนของสำนักพิมพ์การ์ตูนดีซี จะเอ่ยถึงเบื้องหลังบ่อย ๆ ว่าเรียนที่มหาวิทยาลัยโตเกียวตอนเป็นคลากเคนท์
ตัวละครที่เป็นครูและนักตามสาว ชื่อ ซุกุรุ เทชิงะวะหระจากการ์ตูนและหนังการ์ตูนชื่อดัง "โอนิซึกะยอดครู" เคยเรียนที่มหาวิทยาลัยโตเกียวและชอบโม้เรื่องการศึกษาของตนเองบ่อยครั้ง มหาวิทยาลัยโตเกียวในงานเขียน
ใน ค.ศ. 2005 มหาวิทยาลัยโตเกียวถูกจัดให้เป็นอันดับ 1 ในเอเชีย จากการจัดอันดับสถาบันในระดับอุดมศึกษา โดย มหาวิทยาลัยเซียงไฮ้เจียงตง ประเทศจีน

มหาวิทยาลัยโตเกียว
มหาวิทยาลัยเกียวโต
มหาวิทยาลัยแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย
มหาวิทยาลัยโอซาก้า
มหาวิทยาลัยโตโฮะกุ
มหาวิทยาลัยฮิบรูแห่งเจรูซาเล็ม
มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น
สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว

ไม่มีความคิดเห็น: