วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550

โปรตอน
โปรตอน (อังกฤษ: Proton) คืออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวกอยู่ในนิวเคลียสหรือใจกลางของธาตุ ธาตุเดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน เช่น ไฮโดรเจนเป็นธาตุตัวที่ 1 เบาที่สุดมีโปรตอนตัวเดียว ฮีเลียมมี 2 ตัว เหล็กมี 26 ตัว ยูเรเนียมมี 92 ตัว

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550

รูบิเดียม
รูบิเดียม (อังกฤษ:Rubidium) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 37 และสัญลักษณ์คือ Rb รูบิเดียมอยู่ในตารางธาตุหมู่ 37 รูบิเดียมเป็นธาตุในกลุ่มโลหะแอลคาไลมีสีขาวเงินเนื้ออ่อน Rb-87เป็นไอโซโทป เรดิโอแอคตีฟที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สามารถติดไฟได้เองในอากาศ
รูบิเดียม

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550

ขบวนรถสินค้า
ขบวนรถสินค้า คือขบวนรถไฟที่ประกอบด้วยรถสินค้าล้วนๆ

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550


สามโคก เป็นอำเภอที่มีขนาดเล็กที่สุดและมีจำนวนประชากรน้อยที่สุดของจังหวัดปทุมธานี

อำเภอสามโคกอำเภอสามโคก ประวัติศาสตร์
พื้นที่อำเภอสามโคกแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 11 ตำบล (tambon) แต่ละตำบลแบ่งออกเป็น หมู่บ้าน รวม 58 หมู่บ้าน ได้แก่

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550

รุด ฟาน นิสเตอรอย
* นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้ทีมสโมสร นับเฉพาะลงเล่นในประเทศ ข้อมูลล่าสุดวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2006 ** นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้ทีมชาติ ข้อมูลล่าสุดวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2006
รุด ฟาน นิสเตลรอย (Ruud van Nistelrooy, ชื่อเต็ม Rutgerus Johannes Martinius Ruud van Nistelrooij) (1 กรกฎาคม พ.ศ. 2519) เป็นนักฟุตบอลชาวเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันเป็นนักเตะของรีล มาดริด

รุด ฟาน นิสเตอรอย ประวัติ
เกิดวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 เล่นตำแหน่งกองหน้า (Striker) สวมเสื้อหมายเลข 10 ซึ่งเป็นเบอร์ที่โด่งดังที่สุดของเขาในยูนิฟอร์มของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดแต่เบอร์ประจำในทีมชาติทีมชาติฮอลแลนด์ของเขาคือเบอร์ 9 ย้ายจากสโมสร PSV Eindhoven มายังแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ในค.ศ. 2001 ค่าตัว 19 ล้านปอนด์ สร้างผลงานที่โดดเด่นด้วยการยิงประตูให้กับต้นสังกัดได้มากถึงกว่า 150 ประตู แต่อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงกับผู้จัดการทีม เซอร์อเล็ก เฟอร์กูสัน ก็เป็นเหตุให้เขาต้องย้ายจากสโมสร แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด มายังทีมรีล มาดริด ด้วยค่าตัว 13 ล้านปอนด์ ในปี 2006

พ.ศ. 163
พุทธศักราช 163 ใกล้เคียงกับ ก่อน ค.ศ. 381

พ.ศ. 163 วันเกิด

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550


พุทธศักราช 1894 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 1351 - มีนาคม ค.ศ. 1352
ค.ศ. 1351 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินจูเลียน
ค.ศ. 1352 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินจูเลียน
มหาศักราช 1273
ปีเถาะ ตรีศก จุลศักราช 713 (วันที่ 28 มีนาคม เป็นวันเถลิงศก) ค.ศ. 1351 ผู้นำ

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550


พุทธศักราช 714 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 171 - มีนาคม ค.ศ. 172
มหาศักราช 93 ค.ศ. 171 วันเกิด

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2550

พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ เจ้าของฉายา " กวีศรีชาวไร่ " เป็นสมาชิกคนหนึ่งของวงดนตรีเพื่อชีวิต คาราวาน ยุคเริ่มต้น รวมทั้งได้หนีเข้าป่าไปพร้อมกับคาราวาน และนักศึกษาใน ยุค 6 ตุลา 2519
เขาเริ่มต้นเป็นศิลปินเพลงเมื่อกลับออกมาจากป่าแล้ว พงษ์เทพได้เข้าร่วมกับวงคาราบาวโดยเดินทางร่วมแสดงคอนเสิร์ตไปด้วยกัน แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกวง จนกระทั่งคาราบาวโด่งดังจากอัลบั้ม เมดอินไทยแลนด์ แล้ว แอ๊ด คาราบาว (ยืนยง โอภากุล) จึงช่วยเล่นดนตรีให้กับการออกอัลบั้มชุดแรกของพงษ์เทพ คือ ชุด " ห้วยแถลง " กับเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้ม โดยมีจังหวะเร็กเก้สนุก ๆ กับเนื้อหาที่เสียดสีชีวิตมนุษย์ จากนั้นพงษ์เทพก็ได้เป็นศิลปินเดี่ยว และมีชื่อเสียงในเวลาต่อมา เพลงที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดีของพงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ก็ได้แก่ คนกับหมา, ตังเก, น้ำตาหอยทาก, ต้นขับขี่, โคราชา, ตรงเส้นขอบฟ้า,คิดถึงบ้าน เจ้าสาวผีเสื้อ เป็นต้น โดยเนื้อเพลงส่วนมาก พงษ์เทพจะเป็นผู้แต่งเอง โดยใช้ถ้อยคำสำนวนที่เหมือนบทกวี สมกับฉายาของตัวเอง โดยฉายา "กวีศรีชาวไร่" นี้ "นายผี" อัสนี พลจันทร์ ปัญญาชนนักปฏิวัติเป็นผู้ให้
พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ มีชื่อเล่นว่า " หมู " จนเรียกกันติดปากว่า " น้าหมู " มีบุคลิกเป็นคนสนุกสนานเฮฮา พูดเก่ง เมื่อแสดงคอนเสิร์ตครั้งใด มักจะสร้างความสนุกให้กับผู้ชมด้วยการพูด ด้วยลีลาของตัวเอง จนกลายเป็นเหมือนการทอล์กโชว์กลาย ๆ ปัจจุบัน มีบ้านและไร่ชื่อ " ดอกเหงื่อ " อยู่บริเวณเชิงเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา บ้านเกิด โดยใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายชอบอยู่สันโดษไม่ชอบคบกับใครง่ายๆแต่ชอบอยู่กับชาวบ้าน ไม่เข้ากรุงหรือเข้าสังคม นอกจากจะมีงานแสดงดนตรี

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2550

ประวัติ

รูปแบบไฟล์ Flash
แมโครมีเดีย แฟลช

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550


สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เมื่อสังเกตจากพื้นโลก จะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์
สุริยุปราคามี 4 ประเภท ได้แก่
สุริยุปราคาอาจจัดเป็นการบังกันประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ

สุริยุปราคาบางส่วน: มีเพียงบางส่วนของดวงอาทิตย์เท่านั้นที่ถูกบัง
สุริยุปราคาเต็มดวง: ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง
สุริยุปราคาวงแหวน: ดวงอาทิตย์มีลักษณะเป็นวงแหวน เกิดเมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ห่างไกลจากโลก ดวงจันทร์จึงปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์
สุริยุปราคาผสม: ความโค้งของโลกทำให้สุริยุปราคาคราวเดียวกันกลายเป็นแบบผสมได้ คือ บางส่วนของโลกเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง บางส่วนเห็นสุริยุปราคาวงแหวน บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวง เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์มากกว่า สุริยคราส การสังเกตสุริยุปราคา

การเกิดสุริยุปราคา
จากรูป เป็นการเกิดสุริยุปราคา ส่วนสีเทาเข้มเป็นเงามืด ดวงอาทิตย์ถูกบังโดยดวงจันทร์อย่างสมบูรณ์ หากผู้สังเกตอยู่บริเวณที่เงามืดตกทอด จะสังเกตเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง แต่หากผู้สังเกตอยู่บริเวณที่เงามัว (ส่วนสีเทาอ่อน) ตกทอด จะสังเกตเห็นสุริยุปราคาบางส่วน

การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงและบางส่วน
ระบบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทตย์ (สุริยวิถี) กับระนาบวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกทำมุมกันประมาณ 5 องศา ทำให้ในวันจันทร์ดับส่วนใหญ่ ดวงจันทร์จะอยู่เหนือหรือใต้ดวงอาทิตย์ ซึ่งสุริยุปราคาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านบริเวณจุดตัดของระนาบวงโคจรทั้งสองในวันจันทร์ดับ
วงโคจรของดวงจันทร์เป็นรูปวงรี ทำให้ระยะห่างระหว่างดวงจันทร์ของโลกมีความแตกต่างกันได้ประมาณ 6 เปอร์เซนต์จากค่าเฉลี่ย ด้วยเหตุนี้ ทำให้ขนาดของดวงจันทร์ที่มองจากโลกอาจมีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่าปกติได้ ส่งผลกระทบต่อการเกิดสุริยุปราคา ขนาดของดวงจันทร์เฉลี่ยเมื่อมองจากโลกมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์เล็กน้อย ทำให้สุริยุปราคาส่วนใหญ่จะเกิดแบบวงแหวน แต่หากในวันที่เกิดสุริยุปราคานั้น ดวงจันทร์โคจรอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้โลก ก็จะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ส่วนวงโคจรของโลกก็เป็นวงรีเช่นกัน ระยะห่างระหว่างดวงอาทิตย์กับโลกก็มีค่าเปลี่ยนไปตลอดเวลา แต่ก็ส่งผลไม่มากนักกับการเกิดสุริยุปราคา
ดวงจันทร์โคจรรอบโลกใช้เวลาประมาณ 27.3 วัน เมื่อเทียบกับตำแหน่งการโคจรเดิม เรียกว่าเดือนดาราคติ แต่โลกก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ในทิศทางเดียวกัน ทำให้ระยะเวลาจากจันทร์เพ็ญถึงจันทร์เพ็ญอีกครั้งหนึ่งกินเวลานานกว่านั้น คือ ประมาณ 29.6 วัน เรียกว่า เดือนจันทรคติ
การนับเวลาที่ดวงจันทร์โคจรผ่านจุดตัดระหว่างวงโคจรของดวงจันทรและโลก (node) โดยเคลื่อนที่จากใต้เส้นสุริยะวิถีขึ้นไปทางเหนือ ครบหนึ่งรอบนั้นก็เป็นการนับเดือนอีกวิธีหนึ่งเช่นกัน โดยเดือนแบบนี้จะสั้นกว่าแบบแรกเล็กน้อย เนื่องจากวงโคจรของดวงจันทร์เอียงไปมาจากแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์ ครบรอบในเวลา 18.5 ปี เรียกเดือนแบบนี้ว่า เดือนดราโคนิติก
การนับเดือนอีกแบบหนึ่งคือ นับจากที่ดวงจันทร์โคจรจากจุดที่ใกล้โลกที่สุด (เรียกว่า perigee) ถึงจุดนี้อีกครั้ง การนับแบบนี้จะมีค่าไม่เท่ากับการนับแบบดาราคติ เนื่องจากวงโคจรของดวงจันทร์มีการส่ายโดยรอบซึ่งจะครบหนึ่งรอบใช้เวลาประมาณ 9 ปี เดือนแบบนี้เรียกว่า เดือนอะนอมัลลิสติก

วงโคจรของโลกและดวงจันทร์
วงโคจรของดวงจันทร์ตัดกับสุริยะวิถี 2 จุด ซึ่งห่างกัน 180 องศา ดังนั้น ดวงจันทร์ในวันจันทร์ดับจะอยู่บริเวณจุดนี้ 2 ปีต่อครั้ง ซึ่งโดยทั่วไปจะเกิดสุริยุปราคาทุกปี แต่ในบางปี ดวงจันทร์อาจโคจรอยู่ตำแหน่งวันจันทร์ดับใกล้ๆ กับสุริยะวิถี 2 เดือนติดกัน ทำให้บางปีอาจเกิดสุริยุปราคามากถึง 5 ครั้ง อย่างไรก็ตาม เงามืดของดวงจันทร์มักจะทอดออกไปทางเหนือหรือใต้ของโลก โดยเงามัวจะทอดลงมาบนโลก ทำให้เกิดสุริยุปราคาบางส่วนที่บริเวณขั้วโลกเหนือเท่านั้น

ระยะเวลาในการเกิดสุริยุปราคา
นักดาราศาสตร์ใช้การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในการสังเกตชั้นบรรยากาศชั้นโคโรนาของดวงอาทิตย์ ซึ่งตามปกติจะไม่สามารถมองเห็นได้ เนื่องจากบรรยากาศชั้นโฟโตสเฟียร์ของดวงอาทิตย์นั้นสว่างกว่ามาก

ประโยชน์ของการสังเกตสุริยุปราคา
สุริยุปราคามีระยะเวลา หรือวงรอบของการเกิดที่แน่นอน ทำให้สามารถทำนายการเกิดสุริยุปราคาครั้งต่อไปได้โดยการคำนวณอย่างง่ายๆจากความเร็วในการเคลื่อนที่ไปรอบดวงอาทิตย์ เปรียบเทียบตำแหน่งกับการที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก

วงรอบการเกิดสุริยุปราคา

สุริยุปราคาก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นและหลังดวงอาทิตย์ตก
สุริยุปราคาไม่สามารถเกิดขึ้นจากการที่ดาวเทียมไปบังดวงอาทิตย์ได้ เนื่องจากดาวเทียมหรือสถานีอวกาศนั้นมีขนาดเล็กมาก ไม่พอที่จะบังแสงจากดวงอาทิตย์ได้เหมือนดวงจันทร์ หากจะเกิดสุริยุปราคาจากดาวเทียมนั้น ดาวเทียมต้องมีขนาดประมาณ 3.35 กิโลเมตร ทำให้การเคลื่อนทีของดาวเทียมหรือสถานีอวกาศนั้นเป็นได้เพียงการผ่านเท่านั้น เช่นเดียวกับการผ่านของดาวพุธและดาวศุกร์ ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาสั้นๆ และสังเกตได้ยาก ส่วนความสว่างของแสงจากดวงอาทิตย์ก็ไม่ได้ลดลงไปจากเดิมเเน่นอน

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550

ลัตเวีย
วิกิพีเดียยังไม่มีบทความที่ตรงกับชื่อนี้
เริ่มบทความ หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสด
ค้นหา หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสด ในบทความอื่น ๆ
ดูบทความที่กล่าวถึง หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสด
ถ้าคุณสร้างหน้านี้แล้วเมื่อไม่นานมานี้แต่มันยังไม่ปรากฏขึ้น เป็นไปได้ที่จะมีการล่าช้าในปรับปรุงฐานข้อมูล ลองล้างข้อมูลเก่าในเครื่อง หรือกรุณารอสักครู่และตรวจดูอีกครั้งก่อนที่ท่านจะลองสร้างหน้าใหม่
ถ้าคุณสร้างบทความชื่อเรื่องนี้ก่อนหน้านี้ มันอาจจะถูกลบไปแล้ว ดู ปูมการลบ และทำไมหน้าถึงโดนลบ
ถ้าต้องการถามคำถามเกี่ยวกับ หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสด ให้ลองถามที่ ปุจฉา-วิสัชนา

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550


ฟรีทาวน์ เป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเซียร์ราลีโอน มีประชากรประมาณ 1,070,200 คน (พ.ศ. 2547) เป็นเมืองท่าที่สำคัญทางฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก สินค้าที่ผ่านเข้า-ออกท่าเรือส่วนมากจะเป็นข้าว ปลา และผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน
ฟรีทาวน์

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550

แซมไพ
แซมไพ (sampi, ตัวใหญ่ Ϡ, ตัวเล็ก ϡ) เป็นอักษรกรีกที่เคยใช้ในเลขกรีกซึ่งมีค่าเท่ากับ 900 ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว ความหมายตามตัวอักษร แปลว่า "เหมือนพาย" สำหรับชื่ออื่นของอักษรนี้คือ ไดซิกมา (disigma) เนื่องจากใช้แทนหน่วยเสียง /ss/ หรือ /ks/

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550

สนามมวยราชดำเนิน
สนามมวยราชดำเนิน หรือ เวทีมวยราชดำเนิน (Rajadumnern Stadium) เวทีมวยระดับมาตรฐานหนึ่งในสองแห่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ ณ ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สนามมวยราชดำเนินก่อตั้งขึ้นโดยดำริของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างขึ้น โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มาเสร็จสิ้นหลังสงครามสงบแล้ว ในปี พ.ศ. 2488 โดยในระยะแรกเวทียังไม่มีหลังคามุง
สนามมวยราชดำเนิน นับเป็นเวทีมวยระดับมาตรฐานแห่งแรกของประเทศไทย ได้ถูกยอมรับว่ามีทำเลที่ตั้งและสถาปัตยกรรมสวยงามแห่งหนึ่งของโลก มีนักมวยทั้งนักมวยไทย นักมวยสากล จำนวนมากมายขึ้นชกที่นี่ โดยนักมวยสากลหลายคนที่ก่อนและได้เป็นแชมป์โลกแล้วที่ทำการขึ้นชกที่นี่ ได้แก่ โผน กิ่งเพชร, ชาติชาย เชี่ยวน้อย, เวนิส บ.ข.ส., พเยาว์ พูลธรัตน์, เขาทราย แกแล็คซี่, รัตนพล ส.วรพิน, ชนะ ป.เปาอินทร์ เป็นต้น
ปัจจุบัน สนามมวยราชดำเนินได้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศจึงได้ชื่อเรียกเล่น ๆ จากแฟนมวยว่า " วิกแอร์ " และปรับปรุงสภาพใหม่ โดยอยู่ในการดูแลของบริษัท เวทีมวยราชดำเนิน จำกัด โดยเช่าช่วงต่อจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีนายเฉลิมพงษ์ เชี่ยวสกุล เป็นนายสนาม โดยมีการจัดการแข่งขันชิงแชมป์ของเวทีทั้งมวยไทยและมวยสากล ตั้งแต่รุ่นพินเวท (105 ปอนด์) จนถึงรุ่นเวทเตอร์เวท (147 ปอนด์) โดยผู้ที่ได้แชมป์ของสนามมวยราชดำเนินนี้ก็เหมือนกับได้แชมป์ประเทศไทยด้วย
มีการชกทุกวันจันทร์, พุธ และพฤหัสบดี เวลา 18.00-21.00 น. วันอาทิตย์ เวลา 17.00-21.00 น. เว้นวันสำคัญทางศาสนา ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-281-4205 และ 02-281-0879
แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศพิกัดภูมิศาสตร์: 13.760947° 100.508782°

  • ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย หรือ กูเกิลแมป
    แผนที่ จาก มัลติแมป หรือ โกลบอลไกด์
    ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550

พ.ศ. 1654
พุทธศักราช 1654 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 1111 - มีนาคม ค.ศ. 1112
มหาศักราช 1033 วันเกิด

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2550

พ.ศ. 1680
พุทธศักราช 1680 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 1137 - มีนาคม ค.ศ. 1138
มหาศักราช 1059 วันเกิด

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2550


ไฟนอลแฟนตาซี XII เป็นเกมอาร์พีจีในชุดไฟนอลแฟนตาซี วางจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่น วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2549 ที่ผ่านมา โดยทำยอดจำหน่ายไปแล้วขณะนี้มากกว่า 2 ล้านชุด สร้างโดย สแควร์อีนิกซ์ สำหรับเครื่องเกมเพลย์สเตชั่น 2 ส่วนวันวางจำหน่ายของเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือ คาดว่าอยู่ในช่วงเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 แม้ว่าตามปกติแล้ว เกมในชุดไฟนอลแฟนตาซี จะไม่มีเรื่องราวติดต่อกัน แต่เรื่องราวบางอย่างได้ถูกนำเสนอไปแล้วในเกม ไฟนอลแฟนตาซี แทคติกส์ แอดวานซ์ สำหรับเครื่องเกมบอยแอดวานซ์
ขณะนี้ตัวเกมวางจำหน่ายแล้วในประเทศไทย

ไฟนอลแฟนตาซี XIIไฟนอลแฟนตาซี XII ตัวละครหลัก

""วาน"" (Vaan) เป็นเด็กกำพร้าอายุ 17 ปีชนเผ่ามนุษย์ (Hume) เขาได้เสียพ่อแม่ของเขาไปเมื่อตอนที่เขาอายุ 12 ปี หลังจากนั้นเขาก็ได้เสียพี่ชายของเขา Reks เมื่อสองปีก่อนเมื่อจักรวรรดิ์อาร์คาเดียได้ทำการบุกโจมตีอาณาจักรดาลมาสกาเป็นเมืองขึ้น เขาได้อาศัยและทำงานช่วยเหลือให้แก่มิกเกล (Migelo) ซึ่งทำอาหารส่งให้แก่ทหารของจักรวรรดิ์ ระหว่างนั้นเขามักจะขโมยของจากพวกทหารเสมอ วานเป็นคนที่ร่าเริงและในกลุ่มเพื่อนเขามักจะคิดว่าเขาเป็นหัวหน้าเสมอ วานฝันใฝ่มาตลอดว่าเขาจะเป็นโจรสลัดอากาศและมีเรือเหาะเป็นของตนเอง
""อาเช"", อาเชเลีย นากิน ดาลมาสกา (Ashelia B'nargin Dalmasca) เป็นเจ้าหญิงวัย 19 ปีที่เคยครองราชอาณาจักรดาลมาสกา หลังจากที่อาร์คาเดียได้ทำการบุกรุกเธอได้เสียพ่อของเธอกับพี่ชายและน้องชายแปดคน รวมไปถึงสามีของเธอผู้ที่เป็นลูกชายของเจ้าเมืองของอีกราชอาณาจักร การหายตัวไปของเธอหลังจากเหตุการณ์นี้ทำให้จักรวรรดิ์ต้องบอกแก่ประชาชนดาลมาสกาว่าเธอได้ปลิดชีวิตตนเองในความโศกเศร้าของการสูญเสียครอบครัวและราสเลอร์ สามีของเธอ
""บัลเธียร์"" บูนานซา (Balthier Bunanza) เป็นมนุษย์อายุ 22 ปี โจรสลัดและกัปตันของเรือเหาะเล็กลำหนึ่ง เขาและเพื่อนของเขา แฟรน ไม่อยากจะยุ่งเกี่ยวกับสงครามระหว่างราชอาณาจักรทั้งหลายแห่งโลกอีวาไลซ์ บัลเธียร์มีนามสกุลเดียวกับมัสตาดีโอ ตัวละครจาก ไฟนอลแฟนตาซีแทคทิค
""แฟรน"" (Fran)
""บาช"", บาช วอน รอเซนเบิร์ค (Basch Von Rossenburg)
""พาเนล"" (Panelo)
""เวน"" (Vayne Solidor)
""ลาซา"" (Larsa Solidor)
""วอซเลอร์"" (Vossler)
""เรกซ์"" (Reks)
""ราสเลอร์"" (Rasler Heios Nabradia)
""มิกเกล"" (Migelo)
""อัล-ซิด"" (Al-Cid Margrace)
""จักรพรรดิกรามิส"" (Emperor Gramis Gana Solidor)
""พระราชารามินาส"" (King Raminas B'nargin Dalmasca)
""มาควิส ออนดอร์"" (Marquis Halim Ondore IV)
""ดอกเตอร์ ซิด"" (Doctor Cidolfus Demen Bunanza)
""โน้โน"" (Nono)
""มองบลังก์"" (Montblanc)
""ออกเคอริอัส"" (Occurias)
""พระราชาเรธวอล" (King Rathwall, the Dynast-King)

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550



การปกครอง
เชื้อชาติมีชาวไทย ชาวไทยเชื้อสายมลายู ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวมลายู
ศาสนาประชาชนชาวไทย และไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ในเขตเมืองจะนับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ ชาวไทยมุสลิมนับถือศาสนาอิสลาม
อาชีพส่วนใหญ่ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองจะประกอบอาชีพธุรกิจค้าขาย ส่งออกสินค้า ไม้แปรรูป ผลิตผลทางเกษตรกรรม แลกเปลี่ยนสินค้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิริกทรอนิก อื่น ๆ ฯลฯ งานบริการการท่องเที่ยว ข้าราชการ ส่วนรอบนอกประกอบอาชีพเกษตรกร โดยมากจะนิยมปลูก ลองกองยางพารา

สุไหงโก-ลก ประชากร

ด่านการค้าชายแดนสุไหงโก-ลก ( ไทย-มาเลเซีย ) โดยมีศูนย์กลางการค้าขายอยู่ในตัวเมืองสุไหงโก-ลกที่ศูนย์พาณิชกรรมเก็นติ่งหลังโรงแรมเก็นติ่งเยื้องสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก
ศาลเจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชายไทยเชื้อสายจีน จะมีพิธีสมโภชองค์เจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ ในระหว่างเดือนพฤษภาคม ของทุกปี ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวมาก
ป่าพรุสิรินธร ป่าพรุธรรมชาติผืนสุดท้ายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและแทบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกอีกไปประมาณ 6 กิโลเมตรมีศูนย์พัฒนาและวิจัยป่าพรุสิรินธร ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดด้วยพระองค์เอง
สวนสิรินธร, สวนภูมินทร์, สวนรื่นอรุณ, สวนสาธารณุเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ทั้งหมดเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในหลายพื้เนที่ของอำเภอสุไหงโก-ลก มีความสวยงามและน่าท่องเที่ยวพักผ่อนมาก
พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 ประดิษฐานอยู่ ณ บริเวณ กลางสวนภูมินทร์ เป็นที่เคารพและสักการะของชาวเมืองและจังหวัดใกล้เคียง
แหล่งท่องเที่ยวในตัวเมืองยามค่ำคืน ตั้งแต่บริเวณ ถนนเจริญเขต, ประชาวิวัฒน์, วรคามินทร์ ตลอดจนสุดสายถนนเป็นที่ตั้งของห้างสพรรณสินค้า ร้านค้า แหล่งชอปปิ้ง ร้านกาแฟ คาเฟ ผับแอนเรตเตอร์รอง บาร์ เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวยามค่ำคืนที่ไม่ยอมหลับไหล โรงแรมและสถานที่พัก

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ศูนย์ราชการ
ศูนย์กีฬาและสนามกีฬามหาราช
ด่านศุลกากร
สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและตำรวจตรวจคนเข้าเมือง
สถานีตำรวจภูธรอำเภอสุไหงโก-ลก
ด่านตรวจพืช
ที่ว่าการอำเภอสุไหงโก-ลก
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
สถานปฏิบัติการชั้นคลินิก โรงพยาบาลเทพสิรินธร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2550


นาโนเมตร เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 x 10 เมตร มักย่อว่า nm จากภาษาอังกฤษ nanometreนาโนเมตร 1 นาโนเมตร เท่ากับ 1,000 พิโกเมตร 1,000 นาโนเมตร เท่ากับ 1 ไมโครเมตร

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2550

ภาษาสแลง
ศัพท์สแลง (อังกฤษ: slang) และ สำนวน (idiom) เป็นคำศัพท์หรือสำนวนที่ไม่ได้เป็นศัพท์ปกติที่ใช้กันอยู่ตามความหมายตรงตัว แต่เป็นคำศัพท์ที่ไม่เป็นทางการ โดยทั่วไปอาจจะเกิดจากการสร้างศัพท์หรือสำนวนใหม่โดยการ เปลี่ยนคำ เปลี่ยนความหมาย และความขบขันหรือน้ำเสียงในการพูด ศัพท์หรือสำนวนเหล่านี้อาจจะใช้เฉพาะคนในวงการใดวงการหนึ่ง หรืออาชีพใดอาชีพหนึ่ง ศัพท์สแลงบางครั้งอาจใช้เพียงแค่ช่วงเวลาสั้นๆ แล้วก็หายไป แต่บางครั้งอาจยาวจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของภาษาพูดเลยก็ได้

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2550


ทรัพยากรน้ำ หมายถึง แหล่งต้นตอของน้ำที่เป็นประโยชน์หรือมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์ ทรัพยากรน้ำมีความสำคัญเนื่องจากน้ำเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้มีการนำน้ำมาใช้ในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บ้านเรือน นันทนาการและกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม น้ำที่มนุษย์นำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวนั้นจะเป็นน้ำจืด แต่น้ำจืดในโลกเรามีเพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น และปริมาณ 2 ใน 3 ของน้ำจืดจำนวนนี้เป็นน้ำแข็งในรูปของธารน้ำแข็งและน้ำแข็งที่จับตัวกันอยู่ที่ขั้วโลกทั้งสองขั้ว ปัจจุบันความต้องการน้ำมีมากกว่าน้ำจืดที่มีอยู่ในหลายส่วนของโลก และในอีกหลายพื้นที่ในโลกกำลังจะประสบปัญหาความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานของน้ำในอนาคตอันไม่ไกลนัก กรอบปฏิบัติเพื่อการจัดสรรทรัพยากรน้ำให้แก่ผู้ใช้น้ำ (ในพื้นที่ที่มีกรอบปฏิบัติแล้ว) เรียกว่า "สิทธิการใช้น้ำ" (Water rights)

น้ำกับความขัดแย้ง

แหล่งน้ำจืด
น้ำผิวดินได้แก่น้ำในแม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบและในพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นน้ำจืด ปกติน้ำผิวดินจะได้รับการเติมจากฝนหรือหิมะ และจะหายไปตามธรรมชาติด้วยการะเหย การไหลออกสู่ทะเลและการซึมลงไปใต้ดิน
แม้ว่าการเติมน้ำจืดโดยธรรมชาติของระบบน้ำผิวดินจะได้จากการตกของฝนหรือหิมะลงเฉพาะบนบริเวณลุ่มน้ำนั้นๆ ณ เวลาหนึ่งก็ตาม แต่ปริมาณรวมของน้ำยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอีกหลายปัจจัย ปัจจัยเหล่านี้รวมถึงปริมาณความจุของทะเลสาบ พื้นที่ชุ่มน้ำและอ่างเก็บน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น อัตราการซึมของดินในพื้นที่กักเก็บต่างๆ ดังกล่าว ลักษณะของการไหลตามผิวพื้นของลุ่มน้ำ ช่วงเวลาการตกของฝนหรือหิมะและอัตราการระเหยของพื้นที่นั้นๆ ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อสัดส่วนของน้ำที่ไหลออกสู่ทะเล ระเหยและซึมลงใต้ดิน
กิจกรรมของมนุษย์สามารถสร้างผลกระทบต่อปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวได้มาก มนุษย์มักเพิ่มความจุน้ำเก็บกักด้วยการสร้างอ่างเก้บน้ำและลดความจุน้ำเก็บกักด้วยการระบายพื้นที่ชุ่มน้ำให้แห้ง มนุษย์เพิ่มปริมาณและความเร็วไหลตามผิวของน้ำด้วยการดาดผิวพื้นต่างๆ ให้แข็งรวมทั้งการทำทางให้น้ำไหลทิ้งไปรวดเร็วขึ้น
ปริมาณโดยรวมของน้ำที่มีให้ใช้ ณ เวลาหนึ่งนับเป็นข้อพิจารณาที่มีความสำคัญมาก การใช้น้ำบางประเภทของมนุษย์เป็นการใช้แบบหยุดๆ เดินๆ ตัวอย่างเช่น การทำเกษตรกรรมหลายแห่งต้องการน้ำเป็นปริมาณมากในช่วงฤดูเพาะปลูก และไม่ใช้น้ำอีกเลยหลังฤดูเก็บเกี่ยว การจ่ายน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรมประเภทดังกล่าว ระบบน้ำผิวดินเพื่อการนี้อาจต้องมีขนาดการเก็บกักที่ใหญ่เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำฝนที่ตกลงมาทั้งปีไว้ สำหรับปล่อยมาใช้ภายเวลาที่สั้นเป็นต้น การใช้น้ำประเภทที่ค่อยๆ ใช้ในปริมาณครั้งละไม่มากแต่สม่ำเสมอทั้งปี เช่นน้ำสำหรับหล่อเย็นในโรงผลิตไฟฟ้า การจ่ายน้ำในกรณีนี้ ระบบน้ำผิวดินต้องการเพียงอ่างหรือแหล่งกักเก็บที่มีความจุให้พอสำหรับไว้ชดเชยน้ำในลำธารที่มีอัตราการไหลเข้าอ่างในฤดูแล้งต่ำกว่าอัตราการใช้น้ำในการหล่อเย็น
น้ำผิวดินตามธรรมชาติสามารถเพิ่มพูนได้โดยการนำน้ำเข้ามาจากแหล่งในลุ่มน้ำอื่นด้วยการขุดคลองส่งน้ำหรือวางท่อ หรืออาจทำด้วยวิธีอื่นๆ แต่ก็ได้ไม่มาก มนุษย์เรามีส่วนทำให้ระบบน้ำผิวดินไม่มั่นคงด้วยการสร้างมลพิษ

น้ำผิวดิน
น้ำใต้ผิวดินหรือน้ำใต้ดินหมายถึงน้ำจืดที่ขังอยู่ในช่องว่างของดินหรือหิน และยังหมายถึงน้ำที่ไหลอยู่ภายในชั้นหินอุ้มน้ำ หรือชั้นน้ำ (Aquifer) ซึ่งอยู่ตำกว่าระดับน้ำใต้ดิน (water table) ในบางครั้งก็มีประโยชน์ที่จะแยกให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง น้ำใต้ผิวดินที่อยู่ใกล้และสัมพันธ์กับน้ำผิวดิน กับ น้ำผิวดินที่สัมพันธ์กับน้ำใต้ผิวดินที่อยู่ลึกมากในชั้นหินอุ้มน้ำ บางครั้งก็เรียกน้ำชนิดนี้ว่า "น้ำซากดึกดำบรรพ์" (Fossil water)
น้ำใต้ผิวดินอาจคิดเชิงคำศัพท์เห้หมือนน้ำผิวดินก็ได้ นั่นคือ การรับเข้า (inputs) การปล่อยออก (outputs) และการเก็บกัก (storage) นัยสำคัญของความแตกต่างก็คือ: ในแง่ของน้ำใต้ผิวดิน ที่เก็บกักมักมีขนาดใหญ่มากเมื่อเปรียบเทียบกับการรับเข้า ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำผิวดินที่มีขนาดเก็บกักเล็กแต่มีขนาดการรับเข้ามากกว่า ข้อแตกต่างนี้เองที่ทำให้มนุษย์สามารถใช้น้ำใต้ดินได้มากมาย (แบบไม่ยั่งยืน) ได้เป็นเวลานานโดยไม่รู้สึกถึงผลกระทบที่รุนแรง แต่ถึงกระนั้น ในระยะยาว ในที่สุดอัตราเฉลี่ยของการซึมซับของแหล่งน้ำผิวดินที่ไหลลงใต้ดิน ย่อมจะต้องช้ากว่าอัตราการสูบออกไปใช้โดยมนุษย์
การรับเข้าตามธรรมชาติของน้ำใต้ดินเกิดจากการไหลซึมลงชั้นใต้ดินของน้ำผิวดิน การปล่อยออกตามธรรมชาติของน้ำใต้ดินที่เกินขนาดที่เก็บกักคือน้ำพุธรรมชาติและการไหลซึมออกสู่ทะเล
ถ้าแหล่งน้ำผิวดินมีปัญหาด้านอัตราการระเหย แหล่งน้ำใต้ดินอาจกลายเป็นน้ำเค็มได้ สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการไหลลงแอ่งต่ำใต้ดินเองหรือเกิดจากฝีมือการชลประทานเพื่อการเกษตรกรรมของมนุษย์ ในพื้นที่แถบชายฝั่งทะเล การใช้แหล่งน้ำใต้ดินของมนุษย์เองอาจเป็นเหตุให้การไหลออกทะเลโดยธรรมชาติของน้ำใต้ดินที่เป็นน้ำจืดหยุดลงและเกิดการไหลย้อนของน้ำเค็มสวนเข้าตามทางน้ำจืดเดิมก่อให้เกิดน้ำใต้ดินที่มีความเค็มได้ มนุษย์สามารถทำให้น้ำใต้ดินให้ "หาย" ไปได้ (เช่น การขาดเสถียรภาพ) เนื่องจากมลพิษ ในขณะเดียวกัน มนุษย์ก็สามารถเพิ่มการรับเข้าของน้ำใต้ดินได้ด้วยการสร้างอ่างเก็บน้ำหรือแก้มลิง
น้ำในดินมีลักษณะเป็นส่วนๆ เรียกว่าชั้นหินอุ้มน้ำ หรือชั้นน้ำ น้ำฝนที่ตกลงมาจะถูกซึมซับและไหลมารวมกันที่นี่ ปกติองค์ประกอบของมันน้ำในชั้นหินอุ้มน้ำจะอยู่ในสภาวะที่เกือบเป็นการ "สมดุลอุทกสถิต" (Hydrostatic equilibrium) องค์ประกอบของน้ำในชั้นหินอุ้มน้ำดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับขนาดของช่องหรือรูพรุนของหิน ซึ่งหมายความว่าอัตราการดึงหรือสูบน้ำออกมาใช้จะถูกจำกัดด้วยอัตราการซึมผ่านที่เลว

น้ำใต้ผิวดิน
การกำจัดความเค็ม คือกระบวนการเทียมในการทำให้น้ำเค็ม (ส่วนใหญ๋คือน้ำทะเล) เปลี่ยนเป็นน้ำจืด กระบวนการกำจัดความเค็มที่ใช้กันโดยทั่วไปได้แก่ วิธีการกลั่น (distillation) และ วิธีออสโมซิสผันกลับ (reverse osmosis) การกำจัดความเค็มสำหรับการสร้างแหล่งน้ำใช้ นปัจจุบันยังมีค่าใช้จ่ายที่แพงมากเมื่อเปรียบเทียบกับทางเลือกอื่น การใช้น้ำด้วยวิธีกำจัดความเค็มของน้ำทะเลของมวลมนุษย์ในขณะนี้จึงมีสัดส่วนเศษส่วนเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับแหล่งน้ำที่ใช้วิธีการอื่น ดังนั้น การทำแหล่งน้ำโวยวิธีกำจัดความเค็มจึงมีความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจเฉพาะในพื้นที่แห้งแล้งและจำกัดการใช้เฉพาะการบริโภคในครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น ปัจจุบัน การผลิตแหล่งน้ำโดยวิธีนี้มากที่สุดได้แก่ประเทศแถบอ่าวเปอร์เซีย
แหล่งน้ำ
การกำจัดความเค็ม
มีวิธีการหลายแบบที่มีผู้คิดขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากภูเขาน้ำแข็งเพื่อนำน้ำมาทำเป็นแหล่งน้ำจืด แต่ถึงปัจจุบันความพยายามนี้ก้ยังคงอยู่ในสภาวะขั้นการคิดต้นเพื่อความแปลกใหม่
น้ำที่ละลายไหลจากภูเขาน้ำแข็งถือเป็นน้ำผิวดิน

น้ำแข็ง
มีหลายสิ่งที่คุกคามต่อแหล่งน้ำจืดของโลก สิ่งคุกคามดังกล่าวได้แก่

สิ่งคุกคามที่มีต่อน้ำจืด
การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ จะมีผลกระทบที่รุนแรงมากต่อทรัพยากรน้ำทั่วโลก เนื่องความสัมพันธ์อย่างมากที่เป็นอยู่ระหว่างภูมิอากาศและวัฏจักรทางอุทกวิทยา การเพิ่อุณหภูมิของโลกจะเพิ่มอัตราการระเหยและนำไปสู่การเพิ่มปริมาณฝนและหิมะ หรือที่เรียกรวมว่า "หยาดน้ำฟ้า" แม้จะมีความผันแปรที่แตกต่างกันไปตามภูมิภาคก็ตาม แต่โดยรวมแล้วย่อมทำให้แหล่งน้ำจืดของโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทั้งความแห้งแล้งและน้ำท่วมอาจเกิดถี่ขึ้นและเกิดในต่างภูมิภาคและต่างเวลา จะมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากในการตกของหิมะและการละลายของหิมะในพื้นที่ที่เป็นภูเขาในเขตหนาว อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำในเชิงที่ยังอธิบายไม่ได้ ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดได้แก่ "สภาวะสารอาหารมากเกิน" (eutrophication) การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศอาจมีผลทำให้เกิดการเพิ่มปริมาณน้ำเพื่อการชลประทานเพื่อการเกษตร การดน้ำในสวนด้วยหัวกระจายน้ำและแม้แต่สระว่ายน้ำ

การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
สืบเนื่องจากการเพิ่มประชากรของโลกในอัตราที่มากเกินไป การแก่งแย่งน้ำจึงเกิดขึ้นในลักษณะที่ชั้นหินอุ้มน้ำหลักๆ ของโลกกำลังจะหมดลง ปรากฏการณ์นี้เกิดจากบริโภคโดยตรงของมนุษย์และจากการชลประทานในงานเกษตรกรรมที่นำน้ำใต้ดินมาใช้ ณ ขณะนี้ มีเครื่องสูบขนาดใหญ่น้อยนับล้านเครื่องที่กำลังสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา การชลประทานในพื้นที่แห้งแล้ง เช่นจีนตอนเหนือและอินเดียก็กำลังใช้น้ำจากแหล่งใต้ดินซึ่งสูบขึ้นมาในอัตราที่ไม่ยั่งยืน

การหมดของชั้นหินอุ้มน้ำ
มลพิษทางน้ำ เป็นสิ่งที่ทั่วโลกกำลังมีความห่วงใยมากในปัจจุบัน รัฐบาลของประเทศต่างๆ ได้พยายามฟันฝ่าหาทางแก้ไขหรือลดปัญหานี้ลง มีตัวต้นเหตุที่ทำให้น้ำเสียอยู่หลายตัว แต่ตัวที่สร้างปัญหาได้กว้างขวางมากที่สุด โดยเฉพาะในประเทศด้อยพัฒนาได้แก่การปล่อยน้ำโสโครกที่ไม่ได้บำบัดลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ดี ประเทศกำลังพัฒนาเช่น จีน อินเดีย และอิหร่านก้ยังใช้วิธีนี้มากอยู่

มลพิษและการปกป้องน้ำ
การใช้น้ำจืดสามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทที่เรียกว่า "บริโภคแล้วหมดไป" (consumptive) และ"บริโภคได้ต่อเนื่อง" (non-consumptive) ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "ใช้ได้ต่อเนื่องได้ใหม่" การใช้น้ำที่นับเป็นประเภทบริโภคหมดไปได้แก่การใช้ที่เมื่อใช้แล้วไม่อาจนำกลับมาใช้อย่างอื่นได้อีกในทันที การสูญเสียจากการไหลซึมซับลงสู่ใต้ผิวดินและการระเหยก็นับเป็นประเภทบริโภคหมดไปเช่นกัน (แม้ไม่ได้ถูกบริโภคโดยมนุษย์) รวมทั้งน้ำที่ติดรวมไปกับผลิตภัณฑ์เกษตรหรรืออาหาร น้ำที่สามารถนำมาบำบัดแล้วปล่อยลงสู่แหล่งน้ำผิวดินใหม่ได้อีก เช่น น้ำโสโครกที่บำบัดแล้ว จะนับเป็นน้ำประเภทใช้ต่อเนื่องได้ใหม่ ถ้าถูกนำไปใช้ต่อเนื่อในกิจกรรมการใช้น้ำอย่างใดอย่างหนึ่ง

การใช้น้ำจืด
มีการประมาณกันว่า ปริมาณน้ำจืดร้อยละ 70 ของโลกถูกใช้ไปเพื่อการชลประทาน ในบางส่วนของโลกอาจไม่จำเป็นต้องใช้ระบบชลประทานเลยก็ได้ แต่ในบางพื้นที่การชลประทานมีความจำเป็นมากในการเพิ่มผลผลิตการปลูกพืชชนิดที่จะได้ราคาดี วิธีการชลประทานแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียที่จะต้องแลกกันระหว่างผลผลิตที่ได้กับปริมาณน้ำที่ใช้ รวมทั้งราคาค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์และโครงสร้าง วิธีการชลประทานแบบปกติบางแบบ เช่นแบบยกร่องและแบบหัวกระจายน้ำด้านบนจะถูกที่สุด แต่ก็มีประสิทธิภาพต่ำ เนื่องจากน้ำส่วนใหญ่จะไหลตามผิวและซึมลงไปในดิน หรือระเหยเสียปล่าไปมาก
วิธีการชลประทานที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ารวมถึงการชลประทานแบบน้ำหยด แบบน้ำเอ่อเป็นระลอก (surge irrigation) และแบบหัวกระจายบางประเภทที่ใช้หัวจ่ายใกล้ระดับดิน ระบบเหล่านี้แม้จะแพงแต่ก็สามารถลดการไหลทิ้งตามผิวและการระเหยลงได้มาก ระบบชลประทานใดๆ ก็ตาม หากไม่จัดการให้ถูกต้อง ความสูญเปล่าก็ยังมีมากอยู่ดี สิ่งแลกเปลี่ยนกับการใช้ระบบชลประทานที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาอย่างเพียงพอได้แก่การทำให้เกิดความเค็มของน้ำใต้ดิน
การเพาะเลี้ยงในน้ำคือเกษตรกรรมขนาดเล็กที่กำลังเติบโตในแง่ของการใช้น้ำ การประมงน้ำจืดเชิงพาณิชย์นับเป็นการใช้น้ำทางเกษตรกรรมด้วยเช่นกัน แต่ยังถือเป็นการใช้น้ำที่มีลำดับความสำคัญที่ต่ำกว่าการชลประทาน
ในขณะที่ประชากรของโลกเพิ่มขึ้น ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น แต่แหล่งน้ำกลับมีคงที่ ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการคิดค้นวิธีเพิ่มผลผลิตอาหารโดยใช้น้ำน้อยลงซึ่งได้แก่: การปรับปรุงวิธีการและเทคโนโลยีด้านการชลประทาน การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร การเลือกพันธุ์พืชและระบบการเฝ้าสังเกตและตรวจสอบการใช้น้ำ

เกษตรกรรม
ประมาณว่า ร้อยละ 15 ของการใช้น้ำโดยรวมของโลกเป็นการใช้เพื่อการอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมหลักๆ ที่ใช้น้ำมากได้แก่การผลิตไฟฟ้าที่ใช้น้ำในการหล่อเย็นและใช้ผลิตไฟฟ้า (เช่นไรงไฟฟ้าพลังน้ำ) อุตสาหกรรมเกี่ยวกับแร่และการถลุงแร่ การกลั่นน้ำมัน ซึ่งใช้น้ำในกระบวนการทางเคมี โรงงานผลิตสินค้าต่างๆ ที่ใช้น้ำเป็นตัวละลาย
สัดส่วนการใช้น้ำทางอุตสาหกรรมที่นับประเภทเป็น "การใช้หมดไป" นี้มีความผันแปรแตกต่างกันมากก็จริง แต่โดยรวมแล้วยังนับว่าน้อยกว่าการใช้น้ำทางเกษตรกรรมมาก

อุตสาหกรรม
ประมาณว่าภาคครัวเรือนทั้งโลกใช้น้ำเพื่อบริโภคและอุปโภคเฉลี่ยร้อยละ 15 ซึ่งรวมถึงน้ำดื่ม น้ำอาบ น้ำเพื่อการปรุงอาหาร เพื่อการสุขาภิบาล และเพื่อการรดน้ำต้นไม้และสวน
ความต้องการพื้นฐานของการใช้น้ำภาคครัวเรือนได้รับการประมาณไว้โดย "ปีเตอร์ กลีก" ว่าเท่ากับ 50 ลิตรต่อคน-ต่อวัน โดยไม่รวมน้ำที่ใช้รดน้ำต้นไม้
น้ำใช้แล้วในภาคครัวเรือนจะถูกบำบัดแล้วปล่อยกลับคืนสู่แหล่งธรรมชาติ มีข้อยกเว้นอยู่บ้างที่มีการนำน้ำบำบัดแล้วไปใช้ในงานภูมิทัศน์ ดังนั้นที่น้ำใช้ในภาคครัวเรือนจึงมีสภาวะเป็นประเภทใช้แล้วหมดไปน้อยกว่าน้ำที่ใช้ทางด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม

ครัวเรือน
น้ำมีคุณค่าด้านนันทนาการค่อนข้างสูงมาก
ปริมาณน้ำที่ใช้ในด้านนันทนาการมีปริมาณน้อยมากแต่ก็กำลังเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่การใช้น้ำด้านนันทนาการมักเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอ่างเก็บน้ำ ถ้าอ่างเก็บน้ำถูกบรรจุน้ำเต็มมากกว่าปกติเพื่อนันทนาการ ในกรณีนี้ น้ำที่ถูกเก็บกักไว้อาจจัดอยู่ในประเภทการใช้เพื่อนันทนาการได้ การปล่อยน้ำจากอ่างเก็บน้ำต่างๆ เพื่อให้เล่นเรือในทางน้ำใต้อ่างได้ก็สามารถนับน้ำที่ปล่อยเพื่อการนี้เป็นน้ำเพื่อนันทนาการได้เช่นกัน ตัวอย่างอื่นๆ ได้แก่แหล่งน้ำเพื่อกักกันไว้เพื่อกีฬาตกปลา การเล่นสกีน้ำ การเที่ยวชมธรรมชาติและการว่ายน้ำในธรรมชาติ
การใช้น้ำเพื่อนันทนาการจัดอยู่ในประเภทบริโภคต่อเนื่องที่ไม่หมดไป (non-consumtive) แต่อย่างไรก็ดี มันอาจทำให้น้ำที่อาจนำไปใช้ในกิจกรรมอื่นลดลงในบางขณะและบางพื้นที่ ตัวอย่างเช่นการเก็บกักน้ำไว้ในอ่างเก็บในช่วงฤดูแล้งเพื่อใช้ในการเล่นเรืออาจทำให้ขาดน้ำเพื่อการเกษตรในต้นฤดูเพาะปลูกครั้งหน้า รวมทั้งน้ำที่ปล่อยจากอ่างเก็บน้ำเพื่อให้สามารถล่องแพหรือเรือยางเพื่อการท่องเที่ยวในฤดูแล้งได้ก็อาจทำให้ขาดน้ำเพื่อใช้ทำไฟฟ้าในช่วงการใช้ไฟฟ้าสูงสุดได้เช่นกันก็เป็นต้น

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2550

กิ่งอำเภอดอยหลวง
กิ่งอำเภอดอยหลวง เป็นกิ่งอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย

กิ่งอำเภอดอยหลวง การปกครองส่วนภูมิภาค
กิ่งอำเภอดอยหลวงแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 31 หมู่บ้าน ได้แก่

ปงน้อย (Pong Noi) 10 หมู่บ้าน
โชคชัย (Chok Chai) 11 หมู่บ้าน
หนองป่าก่อ (Nong Pa Ko) 10 หมู่บ้าน

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2550

ศัพท์บัญญัติ
ศัพท์บัญญัติ คือคำศัพท์ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนเอกสารของทางราชการ และการเรียนการสอน ผู้ออกศัพท์บัญญัติในปัจจุบันคือราชบัณฑิตยสถาน ศัพท์บัญญัติจะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ แพทย์ศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเชื่อม พลังงาน ประชากรศาสตร์ พฤกษศาสตร์ ปรัชญา ประกันภัย วรรณกรรม ปรับอากาศ สัทศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปะ เทคโนโลยีสารสนเทศ ยานยนต์ ทันตแพทยศาสตร์ ธรณีวิทยา คณิตศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2550

เรือนไทย
เรือนไทย คือบ้านทรงไทย มีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ละภาค โดยสอดคล้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยสมัยก่อนและแสดงออกถึงภูมิปัญญาไทย ทั้งนี้องค์ประกอบที่มีผลต่อรูปแบบเรือนไทยมีทั้งเรื่องสภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ อาชีพ ฐานะความเป็นอยู่ คติความเชื่อและศาสนาในแต่ละภูมิภาค โดยหลักๆ จะแบ่งเป็น

เรือนไทยภาคเหนือ
เรือนไทยภาคกลาง
เรือนไทยภาคอีสาน
เรือนไทยภาคใต้ เรือนไทย โครงสร้าง

พระตำหนักทับขวัญ
หมู่บ้านศิลปาชีพ บางไทร
วังสวนผักกาด
เรือนไทยจิม ทอมป์สัน

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550


ฝ่ายมหาอำนาจกลาง เป็นฝ่ายของ เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี บัลแกเรีย ตุรกีในสงครามโลกครั้งที่ 1 และเป็นฝ่ายแพ้สงคราม

ฝ่ายมหาอำนาจกลาง การก่อตัว
ประเทศที่เป็นกำลังหลักของฝ่ายนี้คือเยอรมนีที่เปิดแนวรบทั้ง 2 ด้านกับฝรั่งเศสและรัสเซีย ตุรกีทำการรบด้านเทือกเขาคอเคซัสและทะเลดำ ออสเตรียฯกับบัลแกเรียทำการรบในแหลมบอลข่าน เมื่อการรบยืดเยื้อมากขึ้น ฝ่ายมหาอำนาจกลางถูกปิดล้อมทางทะเลโดยราชนาวีอังกฤษและการร่วมสงครามกับฝ่ายไตรพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา ทำให้ฝ่ายมหาอำนาจกลางเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในท่สุด