วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2550


สารบัญ
ความเชื่อของคนไทยในเรื่องสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น มีมาตั้งแต่ยุคแรกเริ่มของประวัติศาสตร์ที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดียแล้วซึ่งก็คือสมัยทวารวดีนั่นเอง ตัวอย่างหลักฐานทางศิลปกรรมที่พบก็คือ ศิลาสลักนูนต่ำปิดทอง สูง ๒ เมตร เป็นภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธองค์แสดงยมกปฏิหารย์ และตอนทรงแสดงเทศนาโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ศิลาชิ้นนี้พบที่จังหวัดน�! �รปฐม (?) จัดเป็นศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕ นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมนูนต่ำ สลักจากหิน รูปพระพุทธองค์ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์แสดงปางปฐมเทศนาสั่งสอน มีรูปบุคคลชั้นสูง(พระพรหมหรือพระอินทร์)อยู่ทางซ้ายในอิริยาบถยืน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕ ตีความได้ว่าเป็นพุทธประวัติตอนพระพุทธองค์เสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์




สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘)
มาถึงในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ อันมีราชธานีสุโขทัยศูนย์กลางแห่งอำนาจได้ก่อกำเนิดขึ้นมา ก็มีความเกี่ยวข้องกับคติสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นอย่างมาก โดยพบร่องรอยหลักฐานทั้งทางโบราณคดีและหลักฐานทางศิลปกรรมเป็นจำนวนมาก เริ่มจากการวางผังเมืองที่มีคูน้ำคันดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๑,๔๐๐ X ๑,๘๑๐ เมตรล้อมรอบบริเวณตัวเมือง ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ระบุว่า ! "รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา" ตรีบูร หมายถึง กำแพงเมือง ๓ ชั้น และยังอาจมีความหมายเชิงสัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์ คือ เป็นดังเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ มีศูนย์กลางความศักดิ์สิทธิ์ คือ พระศรีมหาธาตุทรงยอดดอกบัวตูมซึ่งเป็นเจดีย์ประธานของวัด อาจหมายถึงเจดีย์จุฬามณีที่ตั้งอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ด้วย และที�! �มณฑปวัดตระพังทองหลาง ผน� �งด้านใต้ก็ทำปูนปั้นภาพเล่าเรื่องตอนพระพุทธองค์เสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ศิลปะสุโขทัยยังนิยมทำพระพุทธรูปลีลาซึ่งเป็นเรื่องในพุทธประวัติตอนเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อีกด้วย โดยรับอิทธิพลจากศิลปะพม่าสมัยเมืองพุกามผ่านมาทางล้านนา



โจส
สมัยล้านนา (พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๓)
สำหรับอาณาจักรอยุธยานี้ คติความเชื่อเรื่องไตรภูมิและสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับวัฒนธรรมประเพณีของชาวอยุธยาเป็นอย่างยิ่ง เห็นได้จากอุดมคติเรื่องพระจักรพรรดิราช (พระจักรพรรดิราชหรือเจ้าเป็นใหญ่ในทั่วสารทิศตามคติของอินเดียที่ส่งมาให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ) ซึ่งต้องสร้างและบูรณะพระสถูปเจดีย์สำคัญตามเมืองต่างๆ ดังเ! ห็นได้จากพระนามของพระมหากษัตริย์และเจ้านายที่สำคัญที่เรียกว่า สมเด็จพระบรมราชา มหาจักรพรรดิราช และพระอินทราชาธิราช เป็นต้น อุดมคติในเรื่องพระจักรพรรดิราชนี้มักสัมพันธ์กับพระอินทร์ นอกจากนั้นยังสัมพันธ์กับพระราชพิธีเนื่องในโอกาสพิเศษ เช่น พระราชพิธีอินทราภิเษก ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่อุปมาเหมือน การอภิเษกพระอินทร์กลับเข้าไปปกครองบนสวรรค์ช! ั้นดาวดึงส์เหนือยอดเขาพ� ��ะสุเมรุอันเป็นแกนกลางของจักรวาล พระราชพิธีนี้ได้มีกล่าวในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาว่าได้กระทำขึ้นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ในด้านงานศิลปกรรมต่างๆ ก็มีคติความเชื่อเรื่องสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เข้าไปเป็นแรงบันดาลใจให้ช่างด้วยเช่นกัน
สถาปัตยกรรมต่างๆ ของอยุธยานั้นก็มีแรงบันดาลใจจากคติความเชื่อเรื่องไตรภูมิและสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลายวัดมีคูน้ำล้อมรอบนอกจากทางด้านประโยชน์ใช้สอยที่เป็นรูปธรรมแล้ว ยังเป็นการแสดงถึงความเชื่อว่า คูน้ำแทนมหานทีสีทันดรที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางจักรวาล ส่วนเจดีย์ประธานของวัดเทียบได้กับพระศรีรัตนมหาธาตุหรือก็คือ เจดีย์จุฬามณีท�! �่สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั่นเอง ในสมัยของพระเจ้าปราสาททองนั้นมีการฟื้นฟูและสร้างพระราชพิธีทางระบบความเชื่อที่เกี่ยวกับการเป็นจักรพรรดิราช มีการสร้างวัดและปราสาทเป็นจำนวนมาก เช่น วัดไชยวัฒนาราม ที่มีคติการสร้างวัดคือ การสร้างเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางจักรวาล นอกจากนี้พระเจ้าปราสาททองยังได้สร้างพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ขึ้นริ�! �กำแพงพระราชวัง ซึ่งพระเ� �้าปราสาททองเองก็ทรงตั้งชื่อพระที่นั่งนี้เป็นชื่อเดียวกับปราสาทที่ประทับของพระอินทร์
งานจิตรกรรมของศิลปะอยุธยา ที่ปรากฏคติความเชื่อเรื่องไตรภูมิและสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นส่วนใหญ่จะปรากฏในช่วงของอยุธยาตอนกลางและตอนปลาย ซึ่งนิยมเขียนภาพไตรภูมิไว้ผนังด้านหน้าหรือด้านหลังพระประธาน ตัวอย่างงานจิตรกรรมในสมัยอยุธยาก็สามารถหาชมได้มากมาย เช่น จิตรกรรมฝาผนังด้านเหนือ ตำหนักวัดพุทไธสวรรค์ ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๓ สร้างในรัชกาลสม�! �ด็จพระเพทราชา
ประติมากรรม ในศิลปะอยุธยา ปรกฏการทำงานปูนปั้นนูนสูงเรื่องพุทธประวัติตอนเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ประดับอยู่ที่ผนังด้านนอกวิหารวัดไลย์ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑



ไม่มีความคิดเห็น: