วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
กลไกป้องกันตน (Defense Mechanism) เป็นหนึ่งในหัวข้อการศึกษาของ จิตวิทยา กลไกป้องกันตน เป็นเครื่องมือในการบิดเบือนหรือหนีจากความจริงที่สร้างความไม่สบายใจหรือทุกข์ใจ กลไกป้องกันตนนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผิด นอกจากว่าเราใช้มันมากไปและบ่อย จนทำให้ขาดความรู้สึกที่แท้จริงไปหรือใช้จนกระทั่งชีวิตประจำวันต้องผันแปรไปจากปกติ หากเป็นอย่างนี้ ก็เรียกได้ว่า เราเกิดพยา�! �ิสภาพทางจิตขึ้นแล้ว เราแยกชนิดของกลไกป้องกันตน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. กลไกป้องกันตนประเภทถอยหนี (Escape techniques) ใช้เพื่อหนีหรือหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล
2. กลไกป้องกันตนประเภทประนีประนอม (Compromise techniques) เราใช้มันเพื่อลดความเครียดอันเกิดจากความผิดพลาดหรือความล้มเหลวของตนเอง แต่การใช้ในปริมาณที่มากและบ่อยเกินไป ก็เป็นอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของพฤติกรรมที่รุนแรงได้
การเก็บกด (Repression) ซึ่ง Freud เป็นคนเริ่มแนะนำคำๆนี้ โดยอธิบายว่าหมายถึง วิธีการที่บุคคลพยายามฝังความคิดที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวลให้อยู่แต่ในจิตใต้สำนึก และรบกวนชีวิตประจำวันได้ ซึ่งการเก็บกดไม่เหมือนความพยายามไม่นึกถึง การไม่นึกถึงเป็นการเก็บกักความคิดหรือความรู้สึกโดยรู้ตัวว่าตัวเองพยายามเก็บอะไร ซึ่งความคิดหรือความรู้สึกนั้นยังฝังอยู่ในจ�! �ตสำนึกอยู่ แต่การเก็บกดนั้นเป็นการลบให้มันหายไปจากความรู้สึกและความทรงจำ ซึ่งความจริงแล้วมักไม่หายไปแต่จะเข้าไปฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของคนๆนั้น บางคนไม่ได้พยายามลบเฉพาะเหตุการณ์นั้นๆเท่านั้น แต่จะลบทุกอย่างที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆด้วย การเก็บกดที่มีลักษณะเด่นชัดและมีความรุนแรงที่สุดนั้นอยู่ในรูปของโรคลืม (amnesia) ซึ่งบางครั้งอาจเกิดจากค�! �ามผิดปกติทางกาย เช่น เกิ� ��จากความเสียหายของเนื้อเยื่อในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำ ซึ่งอาการของโรคนี้ที่มีสาเหตุจากทั้ง 2 ชนิด มีลักษณะคล้ายกัน จึงทำให้ยากต่อการแยกแยะว่าเกิดจากชนิดใด จึงต้องมีการตรวจหาสาเหตุควบคู่กันไป
การสร้างจินตนาการ (fantasy) ซึ่งมีหลายระดับ หลายรูปแบบที่พบบ่อย คือ การฝันกลางวัน (day dreaming) มักเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในระยะที่บุคคลเข้าสู่วัยรุ่น อันเป็นวัยที่เขาไม่แน่ใจในบทบาทและเกิดความคับข้องใจจากความไม่แน่ใจนั้น และจากปัญหาอื่นๆซึ่งมักเกิดในวัยนี้ หากไม่สามารถที่จะปรับตัวเข้ากับความจริงได้ เขาอาจหนีเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการ จนในที่สุดอาจไม่สามารถแ! ยกความจริงกับจินตนาการออกจากกันได้ และเกิดพยาธิสภาพทางพฤติกรรมขึ้น
การถอยกลับ (regression) นักจิตวิทยาบางคนเชื่อว่า การแสดงตนว่าป่วยไข้ของคนบางคน อาจเกิดจากการต้องการความสนใจจากคนอื่นๆ (hypochondriac) เหมือนเด็กๆที่ต้องการพึงพาพ่อแม่ การจะพึ่งพาคนอื่นจะทำได้ง่ายขึ้นเมื่อเราแสดงตัวว่าป่วย หากเป็นพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ จะเกิดขึ้นจากความคับข้องใจที่รุนแรง และการคงอยู่ของพฤติกรรมนั้นทำให้บุคคลแก้ไขความคับข้องใจได้ลำบากขึ้�! ��
การซัดโทษ (projection) เป็นการเก็บกดและปิดลักษณะที่ไม่เหมาะสมของตนเอง และขณะเดียวกันก็ป้ายลักษณะที่ไม่เหมาะสมนั้นไปให้คนอื่น ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว จากการที่เราไม่ชอบ ไม่อยากเห็น ตัวเราเองไม่ดี จึงกล่าวหาว่าคนอื่นมีลักษณะนั้นๆแทนเสีย
การทดแทน (sublimation) ซิกมุนด์ ฟรอยด์กล่าวว่า การทดแทนเป็นการที่คนสร้างจุดมุ่งหมายที่ 2 ขึ้นมาแทนจุดมุ่งหมายที่พลาด จะใช้เมื่อเรากลัวการไม่ยอมรับจากสังคม โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องเพศ ซึ่งคนเราไม่สามารถที่จะสนองตอบความต้องการทางเพศของเราได้เสมอไป จึงต้องมีกิจกรรมอื่นเข้ามาเพื่อทดแทน เช่น การออกกำลังกาย วาดเขียนและเขียนหนังสือ เป็นต้น หากการทดแทนมีมา! กเกินไป อาจทำให้บุคคลสูญเสียความนับถือในตนเองได้
การกลบเกลื่อนโดยแสดงออกในทางตรงกันข้าม (reaction formation) การกลบเกลื่อนโดยแสดงออกในทางลบ เกิดจากการที่บุคคลมีแรงจูงใจที่ไม่เหมาะสม ขณะเดียวกันก็มีความโกรธโดยไม่รู้ตัว ว่าจะมีคนอื่นรู้และตำหนิเขาที่มีแรงจูงใจที่น่าละอายนั้น กลัวว่าคนอื่นจะมองว่าคุณค่าของตนเองลดลง ส่วนการกลบเกลื่อนโดยแสดงออกในทางบวก เป็นการพยายามแสดงความดีหรือแสดงพฤติกรรมที่สังคม�! ��อมรับมากเกินขอบเขต
การชดเชย (compensation) เกิดจากการที่บุคคลเกิดความคับข้องใจในเป้าหมายที่ไม่สามารถบรรลุได้ จึงตั้งเป้าหมายใหม่ที่สามารถเป็นไปได้และใกล้เคียงกับเป้าหมายเดิม ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายการทดแทน แต่การทดแทน เกิดจากความคิดหรือความรู้สึกไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ส่วนการเบนเป้าหมาย เกิดจากความล้มเหลวที่เกิดขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม หากการเบนเป้าหมายมีมากเกินไปอาจ�! �ำให้คนอื่นรำคาญ และไม่ยอมรับในตัวบุคคลคนนั้นได้เช่นกัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น