วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
กลไกป้องกันตน (Defense Mechanism) เป็นหนึ่งในหัวข้อการศึกษาของ จิตวิทยา กลไกป้องกันตน เป็นเครื่องมือในการบิดเบือนหรือหนีจากความจริงที่สร้างความไม่สบายใจหรือทุกข์ใจ กลไกป้องกันตนนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผิด นอกจากว่าเราใช้มันมากไปและบ่อย จนทำให้ขาดความรู้สึกที่แท้จริงไปหรือใช้จนกระทั่งชีวิตประจำวันต้องผันแปรไปจากปกติ หากเป็นอย่างนี้ ก็เรียกได้ว่า เราเกิดพยา�! �ิสภาพทางจิตขึ้นแล้ว เราแยกชนิดของกลไกป้องกันตน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. กลไกป้องกันตนประเภทถอยหนี (Escape techniques) ใช้เพื่อหนีหรือหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล
2. กลไกป้องกันตนประเภทประนีประนอม (Compromise techniques) เราใช้มันเพื่อลดความเครียดอันเกิดจากความผิดพลาดหรือความล้มเหลวของตนเอง แต่การใช้ในปริมาณที่มากและบ่อยเกินไป ก็เป็นอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของพฤติกรรมที่รุนแรงได้
การเก็บกด (Repression) ซึ่ง Freud เป็นคนเริ่มแนะนำคำๆนี้ โดยอธิบายว่าหมายถึง วิธีการที่บุคคลพยายามฝังความคิดที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวลให้อยู่แต่ในจิตใต้สำนึก และรบกวนชีวิตประจำวันได้ ซึ่งการเก็บกดไม่เหมือนความพยายามไม่นึกถึง การไม่นึกถึงเป็นการเก็บกักความคิดหรือความรู้สึกโดยรู้ตัวว่าตัวเองพยายามเก็บอะไร ซึ่งความคิดหรือความรู้สึกนั้นยังฝังอยู่ในจ�! �ตสำนึกอยู่ แต่การเก็บกดนั้นเป็นการลบให้มันหายไปจากความรู้สึกและความทรงจำ ซึ่งความจริงแล้วมักไม่หายไปแต่จะเข้าไปฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของคนๆนั้น บางคนไม่ได้พยายามลบเฉพาะเหตุการณ์นั้นๆเท่านั้น แต่จะลบทุกอย่างที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆด้วย การเก็บกดที่มีลักษณะเด่นชัดและมีความรุนแรงที่สุดนั้นอยู่ในรูปของโรคลืม (amnesia) ซึ่งบางครั้งอาจเกิดจากค�! �ามผิดปกติทางกาย เช่น เกิ� ��จากความเสียหายของเนื้อเยื่อในสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำ ซึ่งอาการของโรคนี้ที่มีสาเหตุจากทั้ง 2 ชนิด มีลักษณะคล้ายกัน จึงทำให้ยากต่อการแยกแยะว่าเกิดจากชนิดใด จึงต้องมีการตรวจหาสาเหตุควบคู่กันไป
การสร้างจินตนาการ (fantasy) ซึ่งมีหลายระดับ หลายรูปแบบที่พบบ่อย คือ การฝันกลางวัน (day dreaming) มักเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในระยะที่บุคคลเข้าสู่วัยรุ่น อันเป็นวัยที่เขาไม่แน่ใจในบทบาทและเกิดความคับข้องใจจากความไม่แน่ใจนั้น และจากปัญหาอื่นๆซึ่งมักเกิดในวัยนี้ หากไม่สามารถที่จะปรับตัวเข้ากับความจริงได้ เขาอาจหนีเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการ จนในที่สุดอาจไม่สามารถแ! ยกความจริงกับจินตนาการออกจากกันได้ และเกิดพยาธิสภาพทางพฤติกรรมขึ้น
การถอยกลับ (regression) นักจิตวิทยาบางคนเชื่อว่า การแสดงตนว่าป่วยไข้ของคนบางคน อาจเกิดจากการต้องการความสนใจจากคนอื่นๆ (hypochondriac) เหมือนเด็กๆที่ต้องการพึงพาพ่อแม่ การจะพึ่งพาคนอื่นจะทำได้ง่ายขึ้นเมื่อเราแสดงตัวว่าป่วย หากเป็นพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ จะเกิดขึ้นจากความคับข้องใจที่รุนแรง และการคงอยู่ของพฤติกรรมนั้นทำให้บุคคลแก้ไขความคับข้องใจได้ลำบากขึ้�! ��
การซัดโทษ (projection) เป็นการเก็บกดและปิดลักษณะที่ไม่เหมาะสมของตนเอง และขณะเดียวกันก็ป้ายลักษณะที่ไม่เหมาะสมนั้นไปให้คนอื่น ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว จากการที่เราไม่ชอบ ไม่อยากเห็น ตัวเราเองไม่ดี จึงกล่าวหาว่าคนอื่นมีลักษณะนั้นๆแทนเสีย
การทดแทน (sublimation) ซิกมุนด์ ฟรอยด์กล่าวว่า การทดแทนเป็นการที่คนสร้างจุดมุ่งหมายที่ 2 ขึ้นมาแทนจุดมุ่งหมายที่พลาด จะใช้เมื่อเรากลัวการไม่ยอมรับจากสังคม โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องเพศ ซึ่งคนเราไม่สามารถที่จะสนองตอบความต้องการทางเพศของเราได้เสมอไป จึงต้องมีกิจกรรมอื่นเข้ามาเพื่อทดแทน เช่น การออกกำลังกาย วาดเขียนและเขียนหนังสือ เป็นต้น หากการทดแทนมีมา! กเกินไป อาจทำให้บุคคลสูญเสียความนับถือในตนเองได้
การกลบเกลื่อนโดยแสดงออกในทางตรงกันข้าม (reaction formation) การกลบเกลื่อนโดยแสดงออกในทางลบ เกิดจากการที่บุคคลมีแรงจูงใจที่ไม่เหมาะสม ขณะเดียวกันก็มีความโกรธโดยไม่รู้ตัว ว่าจะมีคนอื่นรู้และตำหนิเขาที่มีแรงจูงใจที่น่าละอายนั้น กลัวว่าคนอื่นจะมองว่าคุณค่าของตนเองลดลง ส่วนการกลบเกลื่อนโดยแสดงออกในทางบวก เป็นการพยายามแสดงความดีหรือแสดงพฤติกรรมที่สังคม�! ��อมรับมากเกินขอบเขต
การชดเชย (compensation) เกิดจากการที่บุคคลเกิดความคับข้องใจในเป้าหมายที่ไม่สามารถบรรลุได้ จึงตั้งเป้าหมายใหม่ที่สามารถเป็นไปได้และใกล้เคียงกับเป้าหมายเดิม ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายการทดแทน แต่การทดแทน เกิดจากความคิดหรือความรู้สึกไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ส่วนการเบนเป้าหมาย เกิดจากความล้มเหลวที่เกิดขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม หากการเบนเป้าหมายมีมากเกินไปอาจ�! �ำให้คนอื่นรำคาญ และไม่ยอมรับในตัวบุคคลคนนั้นได้เช่นกัน
ยุคกลาง หมายถึง ยุคที่เกิดหลังยุคโบราณ(10,000 ปี-ปีค.ศ.476)และยุคมืด(ปีค.ศ.476-ปีค.ศ.500)โดยเกิดจากการที่จักรพรรดิชาร์ลส์มาญแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธ์ ในยุคนี้เกิดเหตุการณ์ต่างๆมากมายทั้งสงครามต่างๆเช่น
สงครามครูเสด(ปีค.ศ.1099-ปี ค.ศ.1291)เกิดจากการที่คริสตจักรต้องการชิงกรุงเยรูซาเลมจากมุสลิมมาเป็นของตน โดยพระสันตะปาปาเออร์บานที่ 2(Pope Urban II)ต้องการรวมคริสจักรตะวันตก(มีศูนย์กลางที่กรุงโรม ในอิตาลีปัจจุบัน)กับคริสตจักรตะวันออก(มีศูนย์กลางที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลหรืออิสตันบูลในตุรกีปัจจุบัน)เข้าด้วยกัน สงครามครูเสดมีทั้งสิ้น 8 ครั้ง โดยย่อง่ายๆดังนี้
คริสตจักรชนะ โดยให้กอดฟรีย์ แห่ง บุยยอง(Godfrey of Bullion) เป็นผู้ปกป้องดินแดนศักดิ์สิทธ์(Holy Land หรือ Jerusalem)แต่ปกครองได้แค่ปีเดียวก็สิ้นพระชนม์ โดยยกบาลวินแห่งโทรอนโตขึ้นปกครอง พระองค์ได้ก่อตั้ง อาณาจักรลาตินแห่งเยรูซาเล็มขึ้นแทน
มุสลิมชนะ ตีเอาดามัสกัส เอเดสสา เยรูซาเล็มกลับคืนไปได้ โดยทัพครูเสดในครั้งนั้นมีพระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธ์(Conrad III) กับ พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งกอล(ฝรั่งเศส)(Louise VII)นำทัพ
เสมอกัน และมีการทำสนธิสัญญาว่าด้วยเรื่องการปกครองเยรูซาเล็ม โดยให้มุสลิมปกครองดินแดนศักดิ์สิทธ์ได้ แต่ห้ามทำร้ายนักแสวงบุญชาวคริสต์ แต่ก็ทำตามสนธิสัญญาได้แค่ 3 ปี 3 เดือน 3 วัน โดยทัพครูเสดมีพระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์แห่งอังกฤษ(Richard I or Ricard the Lionheart) พระเจ้าฟิลิป ออกัสตัสแห่งฝรั่งเศส(Philip Augustus)และพระเจ้าเฟรดเดอริค บาร์บารอสซาแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธ์(Frederick Barbarossa) ทางฝ่! ายมุสลิมก็มีแม่ทัพเป็นสุลต่านซาลาดิน(Sultan Saladin)
วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
องค์การระหว่างประเทศ (International Organizations) หมายถึง โครงสร้างหรือสถาบันที่เป็นทางการ (formal) ถูกสร้างขึ้นโดยข้อตกลงระหว่างรัฐหรือไม่ใช่รัฐก็ได้ เพื่อบรรลุจุดประสงค์และผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งองค์การระหว่างประเทศจะตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างสอง "รัฐ" ขึ้นไป
สารบัญ
จัดประชุมปรึกษาหารือระหว่าง "รัฐ"
วางกฎเกณฑ์ต่างเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง "รัฐ"
จัดสรรทรัพยากร (Resource Allocation)
เสนอการใช้วิธีป้องกันร่วมกัน (Collective Defence)
เสนอการใช้วิธีปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (Peace - Keeping)
ส่งเสริมความร่วมมือเฉพาะด้านในด้านต่างๆ
หน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ
ทวีปยุโรป
รวม 3 องค์กรคือ
กรุงไนโรบี มี 2 องค์กร คือ
องค์การสิ่งแวดล้อมโลก (UNEP)
UN-HABITAT
กรุงแอดดิส อบาบา มี 1 องค์กร คือ
ECA
วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
มอม เป็นสัตว์ในตำนานที่มีรูปร่างคล้ายแมวผสมสิงโต มอมเป็นพาหนะของเทพปัชชุนนะเทวบุตร (เทพเจ้าแห่งฝนในคติล้านนา) สามารถพบเห็นได้ตามบันไดวัดหรือศาสนสถานทางแถบล้านนา
ความเชื่อ
มอมเป็นสัตว์ที่มีฤทธิ์และอาคมเหนือมนุษย์แต่ไม่สามารถอยู่ในบรรลุได้ ทำให้ถูกสร้างเป็นปฏิมากรรมเฝ้าศาสนสถานเหมือนปฏิมากรรมอื่นๆ เพื่อสื่อให้เห็นความยึดติดที่ทำให้เพียงแต่อยู่ตามเทวสถาน ไม่สามารถบรรลุได้
ในทาง วิทยาแร่ และ ผลิกศาสตร์ (crystallography) โครงสร้างผลึก (crystal structure)คือการจัดเรียงกันของอะตอมเป็นการเฉพาะตัวใน ผลึก โครงสร้างผลึกประกอบด้วย หน่วยเซลล์(unit cell) ซึ่งเป็นกลุ่มของ อะตอม ที่จัดเรียงกันในทางเฉพาะเป็นโครงสร้างสามมิติ แบบ แลตทิซ โดยที่ว่างระหว่างหน่วยเซลล์ในทิศทางต่างๆ จะถูกเรียกว่า แลตทิซ พารามิเตอร์ (lattice parameters) คุณสมบัติความสมมาตร (symmetry) ของผลึกจะปรากฏใ�! �กรุปปริภูมิ (space group) ของมัน โครงสร้างของผลึกและความสมมาตรจะแสดงหน้าที่ของมันในการหาคุณสมบัติหลายๆ อย่าง เช่น การแตกร้าว, แถบโครงสร้าง (band structure) ทางอิเล็คทรอนิกส์ และคุณสมบัติทางแสง (crystal optics) ของผลึก
ดูเพิ่มเติม
ผลึก
ผลิกศาสตร์
แนวแตกเรียบ
วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
บทความนี้ใช้ชื่อที่ใช้อักษรในภาษาอื่น เนื่องจากต้องการคงไว้ตามต้นฉบับ หรือไม่มีชื่อภาษาไทยที่เหมาะสม
Ve (В, в) เป็นอักษรตัวที่ 3 ในอักษรซีริลลิก อ่านได้เป็นเสียง /v/ และมีรูปร่างเหมือนอักษรละติน B แต่ออกเสียงต่างกัน
อักษรตัวนี้และ Б มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก บีตา ซึ่งมีการใช้แทนเสียง /v/ ของภาษากรีกในเวลาใกล้เคียงกับสมัยที่อักษรซีริลลิกถูกสร้างขึ้น ชื่อเดิมของอักษรตัวนี้คือ vědě และมีค่าตัวเลขเท่ากับ 2 ในระบบเลขซีริลลิก
ในภาษารัสเซีย อักษรตัวนี้ออกเสียงเหมือน /v/ เหมือนภาษาอังกฤษ ยกเว้นเมื่ออักษรตัวนี้ปรากฏท้ายคำจะเป็น /f/ ที่ไร้เสียง หรืออ่านเป็น /vʲ/ ก่อนเสียงสระซึ่งเลื่อนไปทางเพดานแข็ง
ในการออกเสียงภาษายูเครนแบบมาตรฐาน (ซึ่งมีสำเนียงโพลทาวาเป็นฐาน) อักษร В จะออกเสียงเป็น /w/ ในภาษาอังกฤษ (เหมือนมี ว สะกด) เมื่ออยู่ที่ท้ายคำ เช่น Владислав แปลงเป็นอักษรละตินจะได้ Vladyslaw อ่านว่า วลาดีสลาว แต่สำหรับชาวยูเครนกลุ่มหนึ่ง จะออกเสียงอักษรนี้เป็น /w/ เสมอไม่ว่าจะปรากฏอยู่ที่ใด
ในภาคตะวันออกของประเทศยูเครน อักษร В อาจจะถูกอ่านเป็น /f/ ที่ไร้เสียงให้คล้ายกับภาษารัสเซีย ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ยกตัวอย่างคำว่า сказав ภาษายูเครนมาตรฐานจะอ่านว่า skazaw สคาซาว ในขณะที่ภาคตะวันออกจะอ่านว่า skazaf สคาซาฟ
ในภาษาเบลารุส อักษร В จะออกเสียงเป็น /v/ เท่านั้น แต่เมื่ออักษรตัวนี้ไปปรากฏอยู่ท้ายคำหรือหน้าพยัญชนะอีกตัวจะเปลี่ยนรูปเป็นอักษร Ў ซึ่งเป็นอักษรที่มีใช้ในภาษานี้เท่านั้นที่แทนเสียง /w/ ตัวอย่าง คำศัพท์ мова (mova โมวา) ที่เป็นคำนาม เมื่อเปลี่ยนรูปไปเป็นคำคุณศัพท์จะกลายเป็น моўный (mownyy โมวนืยอี) และคำนามที่เป็นพหูพจน์จะกลายเป็น моў (mow โมว)
ขันโตก หรือ โตก ภาชนะสำหรับวางสำรับอาหาร บ้างเรียก สะโตก มีรูปทรงกลม ความกว้างมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 30 เซนติเมตรขึ้นไป มีเชิง สูงประมาณ 1 ฟุต มีทั้งขันโตกไม้ และขันโตกหวาย
การแบ่งประเภท
ขันโตกแบ่งออกเป็น 3 ขนาด ดังนี้
ขันโตกหลวง หรือ สะโตกหลวง ทำด้วยไม้ขนาดใหญ่ ตัดท่อนมากลึงหรือเคี่ยนเป็นขันโตก มีความกว้างประมาณ 25 - 50 นิ้ว ตามขนาดของไม้ที่หามาได้ และนิยมใช้การในราชสำนักในคุ้มในวังของเจ้านายฝ่ายเหนือทั่วไป รวมทั้งใช้ในวัดวาอารามทั่วไปด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับยศศักดิ์ และความยิ่งใหญ่ของชนชั้นผู้ปกครองในการที่จะใช้เลี้ยงแขกบ้านแขกเมืองด้วย ส่วนวัดนั้น! พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่การเคารพนพนอบ มีประชาชนนำอาหารไปถวายมากดังนั้นประชาชนจึงนิยมทำขันโตกหลวงไปถวายวัด
ขันโตกฮาม หรือ สะโตกทะราม เป็นขันโตกขนาดกลางประมาณ 17-24 นิ้ว (คำว่า ฮาม หรือ ทะรามนี้ หมายถึงขนาดกลาง) ใช้ไม้ขนาดกลางมาตัดและเคี่ยนหรือกลึงเหมือนขันโตกหลวง ลงรักทาหางอย่างเดียวกัน ผู้ที่ใช้ขันโตกขนาดนี้ มักได้แก่ครอบครัวขนาดใหญ่ เช่น คหบดี เศรษฐีผู้มีอันจะกิน หรือถ้าเป็นวัด ผู้ที่ใช้ขันโตกขนาดนี้คือ พระภิกษุ ในระดับรองสมภาร
ขันโตกหน้อย เป็นขันโตกขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 10 - 15 นิ้ว วิธีทำมีลักษณะเช่นเดียวกับขันโตกหลวงและขันโตกฮาม ใช้ในครอบครัวเล็ก เช่น หญิงชายพึ่งแต่งงานใหม่ หรือ ผู้ที่รับประทานคนเดียว อาหารที่ใส่ก็มีจำนวนน้อย
วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
คลาริสสา ฮาร์โลว์ บาร์ตัน (Clarissa Harlowe barton พ.ศ. 2364-2455) รู้จักทั่วไปในชื่อ "คลารา บาร์ตัน" (Clara Barton) มากกว่า เธอเป็นนักบุกเบิก พยาบาล ครู และนักมนุษยธรรมนิยมชาวอเมริกัน
คลารา บาร์ตันได้รับฉายาว่า "จอมทรหด" เป็นผู้ก่อตั้งสภากาชาดอเมริกัน เกิดที่เมืองออกซ์ฟอร์ด รัฐแมสสาชูเสทท์ เริ่มงานเป็นครูระหว่าง พ.ศ. 2379-2397 ตั้งแต่ยังมีอายุเพียง 17 ปีและในระหว่างสงครามกลางเมือง (พ.ศ. 2404-2408) คลารา บาร์ตันได้ช่วยจัดส่งเวชภัณฑ์และปลอบขวัญทหารที่ได้รับการบาดเจ็บในสงคราม และในระหว่างสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (Franco-Prussian War พ.ศ. 2413-14) ในยุโรป คลารา บาร์�! �ันได้เข้าร่วมงานกับสภากาชาดสากลและต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2424 ได้จัดตั้งสาขาของสภากาชาดสากลขึ้นในสหรัฐฯ ดำรงตำแห่งนายิกาสภากาชาดแห่งสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2424-2447) นอกจากนี้ ด้วยการรณรงค์ของเธอ เป็นผลให้สหรัฐฯ ตกลงลงนามในอนุสัญญาเจนีวาเมื่อ พ.ศ. 2425 ปัจจุบันสภากาชาดอเมริกันเป็นองค์กรมนุษยธรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง
คลารา บาร์ตัน เป็นสตรีอเมริกันที่ได้รับการยอมรับและยกย่องมากที่สุดในสมัยของเธอ โดยได้รับกางเขนเหล็ก กางเขนแห่งจักรวรรดิรัสเซีย กางเขนกาชาดสากล ในปี พ.ศ. 2485 กองทัพเรือสหรัฐฯ ได้ตั้งชื่อเรือ "ยูเอส เอส คลารา บาร์ตัน" เพื่อเป็นเกียรติแก่เธอ
วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
ซาจิททาเรียส ไอโอลอส (「射手座(サジタリアス)のアイオロス」, Sajitariasu no Aiorosu, 射手座(サジタリアス)のアイオロス) ตัวละครจากการ์ตูนเรื่องเซนต์เซย่า เป็นโกลด์เซนต์ประจำราศีธนู ผู้ดูแลปราสาทมนุษย์ม้า 1 ใน 12 ปราสาทแห่งแซงค์ทัวรี่ และเป็นพี่ชายของ เลโอ ไอโอเรีย โกลด์เซนต์ประจำราศีสิงห์
สารบัญ
ไอโอลอสปรากฏตัวครั้งแรกพร้อมกับ เจมินี่ ซากะ ที่หน้าบัลลังก์ของเคียวโก เนื่องจากเคียวโกต้องการคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมที่จะเป็นเคียวโกคนต่อไปเพื่อเตรียมรับมือกับสงครามศักดิ์สิทธิ์ครั้งใหม่ที่กำลังจะมาถึง เคียวโกได้ได้เลือกให้ไอโอลอสได้รับตำแหน่งคนต่อไปเพราะว่าไอโอลอสเป็นผู้ที่มีทั้งปัญญา ความกล้าหาญ และความเสียสละ
ต่อมา ซากะซึ่งไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของเคียวโก ได้สังหารเคียวโกคนเก่าและสวมรอยเป็นเคียวโกอย่างลับ ๆ หลังจากนั้น จึงคิดที่จะสังหารอาธีน่าที่ยังเป็นทารกอยู่ ซึ่งไอโอลอสเข้ามาพบจึงพยายามขัดขวาง ดังนั้น เคียวโก(ซากะ)จึงได้ใส่ร้ายไอโอลอสว่าเป็นคนทรยศที่ต้องการสังหารอาธีน่า และให้เซนต์ทุกคนตามล่าให้ได้ ในระหว่างที่ไอโอลอสกำลังพาอาธีน่าหนี�! �ปจากแซงค์ทัวรี่นั้นได้ปะทะกับ แคปริคอร์น ชูร่า ไอโอลอสพลาดท่าจึงถูกชูร่าโจมตีตกเขาไปจนได้รับบาดเจ็บสาหัส
ในระหว่างนั้นเอง ไอโอลอสได้พบกับคิโดะ มิตสึมาสะซึ่งเดินทางมาเที่ยวที่ประเทศกรีซ จึงเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้ฟังและได้ฝากอาธีน่าซึ่งยังเป็นทารกอยู่นั้น พร้อมทั้งชุดคล็อธซาจิททาเรียสให้คิโดะ มิตสึมาสะเป็นผู้ดูแล หลังจากนั้น ไอโอลอสจึงสิ้นใจลง
บทบาท
ไอโอลอส ปรากฏตัวอีกครั้งที่กำแพงวิปโยค ณ ยมโลก โดยโกลด์เซนต์ทั้ง 12 คนได้รวมพลังคอสโมทั้งหมดเข้าสู่้ลูกธนูของไอโอลอส หลังจากนั้น ไอโอลอสได้ยิงลูกธนูไปยังกำแพงวิปโยคและกำแพงได้ถูกทำลายลงในที่สุด
สงครามศักดิ์สิทธิ์-เทพเจ้าฮาเดส
หลังจากไอโอรอสเสียชีวิตลง ชุดคล็อธซาจิททาเรียสก็อยู่ภายใต้การดูแลของคิโดะ มิตสึมาสะ โดยในศึกกาแล็คเซี่ยนวอร์สนั้น ผู้ชนะจะได้ครอบครองชุดคล็อธซาจิททาเรียส อย่างไรก็ตาม ระหว่างการต่อสู้นั้นอิกกิและเหล่าแบล็คเซนต์ได้เข้ามาแย่งชิงชุดคล็อธไป ดังนั้น จึงไม่มีใครครอบครองชุดคล็อธซาจิททาเรียสได้
ชุดคล็อธซาจิททาเรียสได้ปรากฏรูปร่างที่แท้จริงครั้งแรก (ดังรูป) ในระหว่างที่ไชน่าได้รับคำสั่งจากเคียวโกให้ไปสังหารเซย่า หลังจากนั้น ชุดคล็อธซาจิททาเรียสได้เข้าสวมร่างของเซย่าระหว่างการต่อสู้กับซิลเวอร์เซนต์ 3 คน ได้แก่ เฮราเครส อัลเกตี้ มุสก้า ดีโอ และคานิส เมเจอร์ ซิริอุส ทำให้เซย่ามีพลังทัดเทียมกับโกลด์เซนต์จึงสามารถกำจัดเหล่าซิลเวอร์เซนต�! �ได้อย่างง่ายดาย ต่อมา เซย่าได้ต่อสู้กับไอโอเรียที่ถูกส่งมากำจัดเหล่าบรอนเซนต์เช่นกัน ในขณะที่ไอโอเรียปล่อยหมัดเขี้ยวเล็บสายฟ้า (Lighting volt) ใส่คิโดะ ซาโอริ เพื่อต้องการพิสูจน์ว่าเป็นอาธีน่าตัวจริงหรือไม่นั้น เซย่าได้เข้ารับหมัดแทนและได้ปรากฏภาพของไอโอลอสขึ้นมาเบื้องหลังของเซย่า โดยไอโอลอสได้เตือนสติไอโอเรียและได้ลงโทษที่ไอโอเรียปล่อยหมัดใส่! อาธน่าโดยการสะท้อนพลังห� ��ัดเขี้ยวเล็บสายฟ้ากลับไปโจมตีใส่ไอโอเรียเอง
ในปราสาทมนุษย์ม้า ชุดคล็อธซาจิททาเรียสได้ปรากฏตัวอีกครั้ว โดยได้ยิงลูกศรใส่กำแพงของปราสาท ทำให้ปรากฏตัวอักษรจารึกบนกำแพงซึ่งเป็นพินัยกรรมของไอโอลอส สลักไว้ว่า " เหล่าผู้กล้าหาญที่มาเยือนที่นี่ ขอฝากอาธีน่าไว้แก่พวกเธอ ...ไอโอลอส"
ในศึกสงครามเทพเจ้าโปเซดอนนั้น ชุดคล็อธซาจิททาเรียสได้เดินทางออกจากแซงค์ทัวรี่ไปยังวิหารใต้สมุทรเพื่อต้องการช่วยเหลืออาธีน่า โดยชุดคล็อธได้เข้าสวมร่างเซย่าอีกครั้ง และเซย่าได้ใช้ลูกศรของชุดคล็อธที่มีพลังคอสโมของชิริว เฮียวงะ และชุน โจมตีใส่โปเซดอนได้เป็นผลสำเร็จ
นอกจากนี้ ในภาคฮาเดสนั้น ชุดคล็อธซาจิททาเรียสยังถูกส่งไปยังอาริเชี่ยนโดยพลังของโปเซดอนเพื่อช่วยเหลือพวกเซย่า อย่างไรก็ตาม ชุดคล็อธได้ถูกทำลายลงอย่างง่ายดายโดยฝีมือของเทพมรณะ ทานาโทส
ชุดคล็อธซาจิททาเรียส
อะตอมมิค ธันเดอร์โบลต์ (Atomic Thunderbolt)
ท่าไม้ตาย
คำว่า ซาจิททาริอัส (Sagittarius) เป็นภาษากรีก โดยคำว่า ซาจิท (Sagit) หมายถึง " ธนู " และ ทาริอัส (Tarius) มาจากคำว่า เซนทอร์ รวมกันแล้วหมายถึง " เซนทอร์ยิงธนู " ซึ่งเป็นลักษณะของกลุ่มดาวคนยิงธนู
หมายเหตุ
มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์ เซย่า เล่มที่ 7 , สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ, 2544
มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์ เซย่า เล่มที่ 11 , สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ, 2545
มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์ เซย่า เล่มที่ 13 , สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ, 2545
มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์ เซย่า เล่มที่ 17 , สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ, 2546
มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์ เซย่า เล่มที่ 26 , สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ, 2549
มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์ เซย่า เล่มที่ 28 , สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ, 2549
อ้างอิง
อาริเอส มู | อาริเอส ชิออน | ทอรัส อัลเดบารัน | เจมินี่ ซากะ | เจมินี่ คาน่อน | แคนเซอร์ เดธมาสค์ | เลโอ ไอโอเลีย | เวอร์โก้ ชากะ | ไลบร้า โดโก | สกอร์เปี้ยน มิโร | ซาจิททาเรียส ไอโอลอส | แคปริคอร์น ชูร่า | อควอเรียส คามิว | พิสซิส อโฟรดิตี้
ซาจิททาเรียส ไอโอลอส จากไทยเซนต์เซย่าดอตคอม
แมนจูเรีย
แมนจูเรีย เป็นชาติเอกราชที่มีเชื้อสายชาวมองโกเลีย มีอิทธิพลในจีนสมัย ราชวงศ์ชิงหรือฉิง ซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่มาปกครองจีน ต่อมาราชวงศ์ชิงถูกกำจัดในข้อหาที่ทำให้ชาวจีนเดือดร้อน ไม่เอาใจใส่เท่าที่ควร องค์จักรพรรด์แห่งชิงก็ทรงสำราญพระราชหฤทัยแต่ในวังหลวง คนที่กำจัดคือ ดร.ซุน ยัตเซ็น แล้วสถาปนาจีนฮั่นขึ้นมาอีกครั้ง ต่อมาชาวญี่ปุ่นได้ปลดแอกแมนจูเรียโดยสถาปนา สาธารณรัฐแมนจูกัว ขึ้นมาทำให้จีนไม่พอใจเป็นอย่างมาก เพราะญี่ปุ่นใช้แมนจูเป็นที่สะสมอาหารและอาวุธในการโจมตีจีน หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่2สิ้นสุดลง แมนจูเรียซึ่งอยู่ในสถานประเทศเอกราชได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจีนจนถึงปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)