วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ประเทศนามิเบีย หรือ สาธารณรัฐนามิเบีย เป็นประเทศในทวีปแอฟริกาตอนใต้ ริมฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก มีพรมแดนติดด้านเหนือกับประเทศแองโกลา และแซมเบีย ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับซิมบับเว ทางตะวันออกติดกับบอตสวานา และทางใต้ติดกับประเทศแอฟริกาใต้ นามิเนียได้รับเอกราชคืนจากประเทศแอฟริกาใต้เมื่อ พ.ศ. 2533 มีเมืองหลวงชื่อวินด์ฮุก
ประวัติศาสตร์
รูปแบบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ รัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้รับความเห็นชอบโดยการลงประชามติเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ซึ่งกำหนดให้ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งทั่วไปอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี และจำกัดไม่เกิน 2 สมัย ต่อมาเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 ได้มีการแก้ไขให้ประธานาธิบดีอยู่ในตำแหน่งเกิน 2 สมัยได้ มีวันชาติคือ 21 มีนาคม (เป็นวันที่ได้รับเอกราชจากการปกครองของแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2533)
การเมืองการปกครอง
ประกอบไปด้วยฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ
สถาบันทางการเมือง
รัฐสภา (National Assembly) แบบ 2 สภา (bicameral) ประกอบด้วยสมาชิก 78 คน ซึ่ง 72 คนมาจากการเลือกตั้งและอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี และอีก 6 คนมาจากการแต่งตั้ง
สภาที่ปรึกษาแห่งชาติ (National Council) ประกอบด้วยสมาชิก 2 คน จากแต่ละสภาท้องถิ่น (Regional Council)ซึ่งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี ฝ่ายนิติบัญญัติ
ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ฝ่ายบริหาร
ประกอบด้วยศาลฎีกาและศาลสูง นอกจากนี้ ยังมีผู้พิพากษาและศาลล่างอีกเป็นจำนวนมาก
ฝ่ายตุลาการ
เนื่องจากมีสภาพเป็นทะเลทรายจึงทำให้อากาศแห้งแล้ง
ภูมิศาสตร์
ประกอบไปด้วยพื้นที่สูงและทะเลทราย
ภูมิอากาศ
จำนวนประชากร 2,031,000 โดยมีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 1.57
ภาษา ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ นอกจากนี้ ก็มีการใช้ภาษาแอฟริกันและภาษาเยอรมัน
ศาสนา 90% ของประชากรนับถือศาสนาคริสต์ ประชากร
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นมีความใกล้ชิดมากกับแอฟริกาใต้ แต่มีปัญหาทางด้านพรมแดนกับบอตสวานา และ แองโกลา
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
นับแต่ปี 2536 ความสัมพันธ์กับประเทศแองโกลาไม่สู้จะราบรื่นนัก เนื่องจากในปี พ.ศ. 2536 กลุ่ม UNITA กล่าวหาว่ากองกำลังของนามิเบียข้ามไปยังชายแดนภาคใต้ของแองโกลาเพื่อช่วยรัฐบาลแองโกลาต่อสู้กับ UNITA แต่นามิเบียปฏิเสธ และต่อมาในปี พ.ศ. 2537 นามิเบียก็ได้ปิดพรมแดนส่วนที่ติดกับแองโกลา หลังจากที่เกิดการต่อสู้ในบริเวณนั้น และชาวนามิเบียถูกฆ่าตาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ทั้งสองฝ่ายตกลงกันที่จะเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยบริเวณชายแดน
ความสัมพันธ์กับแองโกลา
ความสัมพันธ์กับบอตสวานาดำเนินมาด้วยดี จนกระทั่งในต้นปี พ.ศ. 2539 มีข้อขัดแย้งกันเรื่องการปักปันเขตแดนบริเวณแม่น้ำโชเบ
ความสัมพันธ์กับบอตสวานา
ความสัมพันธ์กับแอฟริกาใต้เป็นไปอย่างใกล้ชิด ในการเดินทางไปเยือนนามิเบียเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2537 ประธานาธิบดีเนลสัน มันเดลา แถลงว่ามีความเป็นไปได้ที่แอฟริกาใต้จะยกเลิกหนี้สิน จำนวน 826.6 ล้านดอลลาร์นามิเบีย ที่นามิเบียมีต่อแอฟริกาใต้ตั้งแต่ครั้งยังไม่ได้รับเอกราช และเมื่อประธานาธิบดีแซม นูโจมา ไปเยือนแอฟริกาใต้ในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2539 ก็ได้ร้องขอต่อสภาแอฟริกาใต้ให้ยกเลิกหนี้สินดังกล่าว และขอให้แอฟริกาใต้ไปลงทุนในนามิเบีย แม้ว่านโยบายต่างประเทศของนามิเบียแตกต่างจากนโยบายของแอฟริกาใต้บางประการ อาทิ นามิเบียสนับสนุนนโยบายของจีน ในการอ้างสิทธิเหนือไต้หวัน และการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลไนจีเรีย แต่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองก็ยังคงดำเนินไปด้วยดี เนื่องจากนามิเบียต้องพึ่งพาแอฟริกาใต้ทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก
ความสัมพันธ์กับแอฟริกาใต้
นามิเบียเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ กลุ่ม 77 กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-aligned Movement - NAM) องค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity - OAU) สหภาพศุลกากรแอฟริกาใต้ (Southern Africa Customs Union - SACU) ประชาคมด้านการพัฒนาแห่งภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Development Community - SADC)
เศรษฐกิจการค้า
ถนน ในปี 2534 ถนนทั้งหมดมีความยาว 41,815 กิโลเมตร ซึ่งในจำนวนนี้เป็นถนนราดยาง 4,572 กิโลเมตร และมียานพาหนะจำนวน 132,331 คัน
ทางรถไฟ ระบบทางรถไฟของนามิเบียเชื่อมกับทางรถไฟสายหลักของแอฟริกาใต้ที่เมือง อาเรียมสว์เลอิ ทางรถไฟในประเทศมีความยาว 2,382 กิโลเมตร ในช่วงปี 2538-2539 มีผู้โดยสารรถไฟ 124,000 คน และมีการขนส่งสินค้า 1.7 ล้านตัน
การบินพลเรือน สายการบินแห่งชาติที่เป็นของรัฐชื่อแอร์นามิเบีย มีสนามบินนานาชาติที่เมืองวินด์ฮุกและสนามบินภายในประเทศที่เมืองอีรอส ผู้โดยสารระหว่างประเทศมีจำนวน 215,175 คน และสินค้า 2.8 ล้านกิโลกรัม ส่วนผู้โดยสารภายในประเทศมีจำนวน 7,117 คน และสินค้า 211,218 กิโลกรัม นอกจากนี้ ยังมีสายการบินอื่นที่บินผ่าน ได้แก่ แอร์ บอตสวานา, แอร์ ซิมบับเว, คอมเมอร์เชียล แอร์เวย์, ลัฟทันซา, เซาท์ แอฟริกัน แอร์เวย์
การเดินเรือ ท่าเรือที่สำคัญ ได้แก่ วอลวิส เบย์ (ตรงอ่าววอลวิส)
โทรคมนาคม ในปี 2535 มีที่ทำการไปรษณีย์ 72 แห่ง และมีโทรศัพท์ 89,722 เครื่อง สถานีวิทยุนามิเบียมี 3 สถานี และมีสถานีโทรทัศน์ 10 สถานี ในปี 2536 มีโทรทัศน์ จำนวน 27,000 เครื่อง และวิทยุจำนวน 195,000 เครื่อง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น