วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2550



มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2509 จัดการเรียนการสอนครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์การแพทย์ การเกษตร มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ โดยได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทย โดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเลิศทางด้านการเรียนการสอ! น และดีเยี่ยมทางด้านการวิจัย


มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สารบัญ
และในปีเดียวกันนี้ ได้ย้ายนักศึกษาที่ฝากเรียนไว้ที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มาศึกษาที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นในสถานที่ปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510

ในปี พ.ศ. 2484 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล โดยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายและโครงการที่จะขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ส่วนภูมิภาค สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดอุบลราชธานี แต่ในระหว่างนั้น ได้เกิดสงครามเอเชียบูรพา ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องตัดสินใจเข้าร่วมกับญี่ปุ่นต่อสู้�! �ับฝ่ายสัมพันธมิตร จึงทำให้การจัดตั้งมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยุติลงในปี พ.ศ. 2503 รัฐบาลซึ่งมี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการทบทวนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนี้อีกครั้งหนึ่ง
ปี พ.ศ. 2505 จึงได้มีมติให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูง ด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเกษตรศาสตร์ขึ้น ที่จังหวัดขอนแก่น เสนอชื่อสถาบันแห่งนี้ว่า "สถาบันเทคโนโลยีขอนแก่น" และเสนอชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Khon Kaen Institute of Technology" มีชื่อย่อว่า K.I.T.
ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อสถาบันนี้เป็น "มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีหน่วยราชการใด ที่จะรับผิดชอบการดำเนินการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยโดยตรง รัฐบาลจึงได้มีมติให้สภาการศึกษาแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบในด้านการหาสถานที่ จัดร่างหลักสูตร ตลอดจนการติดต่อความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
ปี พ.ศ. 2506 คณะอนุกรรมการได้ตกลงเลือกบ้านสีฐานเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยในเนื้อที่ ประมาณ 5,500 ไร่ ห่างจากตัวเมืองขอนแก่น 4 กิโลเมตร
ปีการศึกษา 2507 สำนักงานจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ได้รับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรุ่นแรก จำนวนทั้งสิ้น 107 คน โดยแยกเป็นนักศึกษาเกษตรศาสตร์ 49 คน และวิศวกรรมศาสตร์ 58 คนโดยฝากเรียนที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน)
ปี พ.ศ. 2508 คณะรัฐมนตรีมีมติให้เปลี่ยนชื่อ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็น "มหาวิทยาลัยขอนแก่น" ตามชื่อเมืองที่ตั้ง และได้โอนกิจการจากสำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติไปเป็นของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปี พ.ศ. 2509 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2509 ซึ่งถือเป็น วันสถาปนามหาวิทยาลัย อีกทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัย จอมพล ถนอม กิตติขจร และนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่นในขณะนั้น ได้ประชุมสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น และพิจารณาแต่งตั! ้งให้:
ฯพณฯ พจน์ สารสิน เป็นอธิการบดี
ศาสตรจารย์ พิมล กลกิจ เป็นรองอธิการบดี ผู้รักษาการคณบดีคณะวิทยาศาสตร์-อักษรศาสตร์ และผู้รักษาการคณบดีเกษตรศาสตร์
ดร. วิทยา เพียรวิจิตร เป็นผู้รักษาการคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์

ประวัติ



ตราประจำมหาวิทยาลัย
สีประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ สีแดงอิฐ อันมีความหมายโยงไปถึงลักษณะ และภูมินามของพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย



ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย

คณะเกษตรศาสตร์
คณะเทคนิคการแพทย์
คณะทันตแพทยศาสตร์
คณะเทคโนโลยี
คณะพยาบาลศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาศาสตร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะศิลปกรรมศาสตร์
คณะสัตวแพทยศาสตร์
คณะสาธารณสุขศาสตร์
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ (MBA)
บัณฑิตวิทยาลัย
วิทยาเขตหนองคาย

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550



พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช (18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446-5 กรกฎาคม พ.ศ. 2549) อดีตนายตำรวจชื่อดังของวงการตำรวจไทย ซึ่งท่านมีชื่อเสียงเป็นอันมากในการปราบโจรร้ายในภูมิภาคต่างๆของไทย ในภาคกลางเช่น เสือฝ้าย เสือย่อง เสือผ่อน เสือครึ้ม เสือปลั่ง เสือใบ เสืออ้วน เสือดำ เสือไหว เสือมเหศวร ที่พัทลุง ปราบ เสือสังหรือเสือพุ่ม ที่นราธิวาส ปราบผู้ร้ายทางการเมือง ในปี พ.ศ. 2481! หัวหน้าโจรชื่อ "อะเวสะดอตาเละ" จนท่านได้ฉายาว่าจากชาวไทยมุสลิมว่า "รายอกะจิ" ซึ่งแปลว่า อัศวินพริกขี้หนู จากผลงานที่ท่านสามารถปราบโจร เสือร้ายต่างๆ ได้มากมาย จึงได้รับฉายา ดังต่อไปนี้

นายพลตำรวจหนังเหนียวผู้จับเสือมือเปล่า
นายพลตำรวจหนวดเขี้ยว
ขุนพันธ์ฯ ดาบแดง(เชื่อกันว่าเป็นดาบที่ตกทอดมาจาก พระยาพิชัยดาบหัก ฝักดาบมีถุงผ้าสีแดงห่อหุ้ม ตัวดาบมีความคมกล้ายิ่งนัก )
รายอกะจิ (อัศวินพริกขี้หนู)ฯลฯ
จอมขมังเวทย์

สารบัญ
พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช หรือชื่อเดิมว่า บุตร พันธรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ที่บ้านอ้ายเขียว หมู่ที่ 5 ตำบลดอนตะโก อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอ้วน นางทองจันทร์ พันธรักษ์ เริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดสวนป่าน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เนื่องจากท่านมีความรู้ในวิชาเลขและหนังสืออยู่แล้วก่อนที่�! �ะเข้าโรงเรียน ดังนั้นเมื่อเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 ได้ 1 วัน ทางโรงเรียนก็เลื่อนชั้นให้เรียนในชั้นประถมปีที่ 2 และวันรุ่งขึ้นก็เลื่อนชั้นให้เรียนชั้นประถมปีที่ 3 เป็นอันว่าท่านเข้าโรงเรียนได้เพียง 3 วัน ได้เลื่อนชั้นถึง 3 ครั้ง
เมื่อครั้งเรียนชั้นประถมปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสวนป่าน มีพระภิกษุอินทร์ รัตนวิจิตร เป็นผู้สอน เรียนอยู่ประมาณ 2 เดือน โรงเรียนนั้นก็ถูกยุบ ท่านจึงเข้าเรียนในชั้นเดิม ที่โรงเรียนวัดพระนคร ตำบลพระเสื้อเมือง (ปัจจุบันคือตำบลในเมือง) อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีครูเพิ่ม ณ นคร เป็นครูประจำชั้น เรียนจบชั้นประถมปีที่ 3 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียน ในปี พ.ศ. 2456! ได้เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดท่าโพธิ์ (โรงเรียนเบจมราชูทิศในปัจจุบัน)
พอเรียนชั้นมัธยมปีที่ 2 ได้ไม่กี่เดือนก็ต้องออกจากโรงเรียนเพราะป่วยเป็นโรคคุดทะราด ต้องพักรักษาตัวปีกว่า เมื่อหายจึงคิดจะกลับมาศึกษาต่อที่โรงเรียนเดิมแต่ปรากฏว่าเพื่อนๆ ที่เคยเรียนด้วยกันเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และปีที่ 3 แล้ว จึงเปลี่ยนใจเดินทางเข้าไปศึกษาที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2459 โดยไปอยู่กับพระปลัดพลับ บุณยเกียรติ ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า ! ที่วัดส้มเกลี้ยง (วัดราชผาติการาม) ได้เรียนอยู่ที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขณะเรียนที่โรงเรียนนี้ท่านได้เรียนวิชามวย ยูโด และยิมนาสติกจากครูหลายคน เช่น ครูย้อย ครูศิริ ครูนก ครูมณี จนมีความชำนาญในเชิงมวย ท่านสอบไล่ได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ในปี พ.ศ. 2467
ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 จึงได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจระเข้ จังหวัดนครปฐม ขณะที่เรียนได้เป็นครูมวยไทยด้วย เรียนอยู่ 5 ปี สำเร็จหลักสูตรในปี พ.ศ. 2472


ขุนพันธรักษ์ราชเดช
ย้ายกลับพัทลุง
ชีวิตของ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นชีวิตที่มีค่าของแผ่นดินเมืองใต้และเมืองไทย ลมหายใจของท่านเคยโลดแล่นอยู่ท่ามกลางหมู่โจรผู้ร้าย ไม่เฉพาะแต่ผู้ร้ายในภาคใต้เท่านั้น แต่ที่ไหนประชาชนเดือดร้อนจากโจรผู้ร้ายชุกชุม ตำรวจคนอื่นปราบปรามไม่สำเร็จ กรมตำรวจจะต้องส่งตัวขุนพันธ์ฯ ไปปราบปรามทุกถิ่นที่มีครั้งหนึ่ง พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดชเป็นรองผู�! ��บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 ท่านเคยเดินทางมาตรวจสืบราชการลับที่เกาะสมุย ขุนพันธ์ฯท่านชอบดูมวย วันนั้นท่านไปยืนดูมวยอยู่ข้างเวที บังเอิญถอยหลังไปเหยียบเท้านางพล้อยเข้าโดยไม่ตั้งใจ ป้าพล้อยแกเป็นคนปากจัด ใครแตะเป็นด่าไม่ไว้หน้า แกก็ด่าขุนพันธ์ฯ ขุนพันธ์ฯก็วางเฉยไม่โต้ตอบอะไร มีคนรู้จักกันเข้าไปเตือนสติป้าพล้อยว่า "คนที่ป้าด่าอยู่นั้นรู้มั๊ยว�! ��าเป็นใคร...นั่นแหละขุนพั� �ธ์ฯ" พอได้ยินชื่อขุนพันธ์ฯเท่านั้น ป้าพล้อยแกเงียบเป็นเป่าสาก รีบก้มหน้างุดๆ เดินมุดผู้คนหนีไปโดยไม่เหลียวหลังมาอีกเลย คำบอกเล่าสั้นๆนี้ทำให้เห็นว่า ขุนพันธ์ฯ ท่านมีตบะสูง เพียงได้ยินว่าเป็นขุนพันธ์เท่านั้น ใครๆก็ขยาดทั้งนั้น เพราะรู้กิตติศัพท์ของท่านมาก่อนนั่นเอง
สมัยที่ขุนพันธ์ฯกลับมาอยู่เมืองนครศรีธรรมราช ก็มีเรื่องเล่ากันว่า ตอนนั้นมีเสือใหญ่อยู่ 10 ตัว ในจำนวนเสือร้าย 10 ตัวนั้น มีเสือข่อย เสือจ้อย เสือหวน ฯลฯ รวมอยู่ด้วย เสือทั้ง 10 คนนั้น ล้วนเคยเป็นศิษย์หลวงพ่อช่วย เมืองนครศรีธรรมราช ผู้ซึ่งเป็นพระมีวิชาเก่งกล้าทางไสยศาสตร์ หรือกฤตยาคม ขุนพันธ์ฯ เคยเรียนวิชาด้วยผู้หนึ่ง เมื่อท่านขุนพันธ์ฯกลับมาอยู่�! ��นตำแหน่งสำคัญระดับภาค ท่านมีประกาศิตสั่งให้ผู้ร้ายทั้ง 10 คนนั้น เลิกประพฤติเยี่ยงโจร ให้กลับใจเลิกเป็นเสือเสีย โดยให้บวชเป็นพระภิกษุ ถ้าหากไม่ทำตามคำขอร้องนั้น ขุนพันธ์ฯ ก็จะยิงทิ้งทุกคน เล่ากันว่าประกาศิตของขุนพันธ์ฯทำให้เสือร้ายส่วนใหญ่ปฏิบัติตามแต่โดยดี มีเพียงเสือข่อยเพียงรายเดียวเท่านั้นที่ไม่ยอมทำตามคำของขุนพันธ์ฯ เสือข่อยไม่ยอมเ! ลือกทางเดินที่ขุนพันธ์ฯ� ��ลือกให้ ซ้ำร้ายยิ่งท้าทายอำนาจของกฎหมายบ้านเมือง ด้วยความเชื่อว่า ตนนั้นเป็นศิษย์หลวงพ่อช่วย ผู้เรืองวิชาอาคมแก่กล้า เป็นลูกศิษย์อาจารย์เดียวกับขุนพันธ์ฯ จึงคิดว่าขุนพันธ์จะยกเว้นไว้สักคนหนึ่ง แต่ปรากฏว่า ขุนพันธ์ฯ ทำตามที่พูด ว่ากันว่าท่านยิงเสือข่อย แต่ยิงไม่เข้า จึงสั่งให้ลูกน้องฆ่าด้วยศูลแทงสวนทวารจนถึงแก่ความตาย คำเล่าลือเหล่าเสือ�! �้ายในหมู่บ้านของชาวเมืองปักษ์ใต้ มีทั้งเรื่องจริงบ้าง หรือต่อเติมเสริมแต่งของผู้เล่าอ่านเองบ้าง แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องเหลวใหล มันคือตำนานอมตะของวีรบุรุษเล็กพริกขี้หนู ที่มีนามว่า "นายร้อยบุตร์ พันธรักษ์ราชเดช" หรือขุนพันธรักษ์ราชเดช ขุนพันธ์ฯ เป็นบุคคลที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่ว่าตำแหน่งใด ยศใด ยกย่อง นับถือ และกล่าวถึง เนื่องจากท่านเป็นแ! บบอย่างที่ดีของตำรวจนั่� ��เอง


วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2550


สารบัญ
ความเชื่อของคนไทยในเรื่องสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น มีมาตั้งแต่ยุคแรกเริ่มของประวัติศาสตร์ที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดียแล้วซึ่งก็คือสมัยทวารวดีนั่นเอง ตัวอย่างหลักฐานทางศิลปกรรมที่พบก็คือ ศิลาสลักนูนต่ำปิดทอง สูง ๒ เมตร เป็นภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธองค์แสดงยมกปฏิหารย์ และตอนทรงแสดงเทศนาโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ศิลาชิ้นนี้พบที่จังหวัดน�! �รปฐม (?) จัดเป็นศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕ นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมนูนต่ำ สลักจากหิน รูปพระพุทธองค์ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์แสดงปางปฐมเทศนาสั่งสอน มีรูปบุคคลชั้นสูง(พระพรหมหรือพระอินทร์)อยู่ทางซ้ายในอิริยาบถยืน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕ ตีความได้ว่าเป็นพุทธประวัติตอนพระพุทธองค์เสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์




สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘)
มาถึงในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ อันมีราชธานีสุโขทัยศูนย์กลางแห่งอำนาจได้ก่อกำเนิดขึ้นมา ก็มีความเกี่ยวข้องกับคติสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นอย่างมาก โดยพบร่องรอยหลักฐานทั้งทางโบราณคดีและหลักฐานทางศิลปกรรมเป็นจำนวนมาก เริ่มจากการวางผังเมืองที่มีคูน้ำคันดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๑,๔๐๐ X ๑,๘๑๐ เมตรล้อมรอบบริเวณตัวเมือง ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ระบุว่า ! "รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา" ตรีบูร หมายถึง กำแพงเมือง ๓ ชั้น และยังอาจมีความหมายเชิงสัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์ คือ เป็นดังเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ มีศูนย์กลางความศักดิ์สิทธิ์ คือ พระศรีมหาธาตุทรงยอดดอกบัวตูมซึ่งเป็นเจดีย์ประธานของวัด อาจหมายถึงเจดีย์จุฬามณีที่ตั้งอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ด้วย และที�! �มณฑปวัดตระพังทองหลาง ผน� �งด้านใต้ก็ทำปูนปั้นภาพเล่าเรื่องตอนพระพุทธองค์เสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ศิลปะสุโขทัยยังนิยมทำพระพุทธรูปลีลาซึ่งเป็นเรื่องในพุทธประวัติตอนเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อีกด้วย โดยรับอิทธิพลจากศิลปะพม่าสมัยเมืองพุกามผ่านมาทางล้านนา



โจส
สมัยล้านนา (พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๓)
สำหรับอาณาจักรอยุธยานี้ คติความเชื่อเรื่องไตรภูมิและสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับวัฒนธรรมประเพณีของชาวอยุธยาเป็นอย่างยิ่ง เห็นได้จากอุดมคติเรื่องพระจักรพรรดิราช (พระจักรพรรดิราชหรือเจ้าเป็นใหญ่ในทั่วสารทิศตามคติของอินเดียที่ส่งมาให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ) ซึ่งต้องสร้างและบูรณะพระสถูปเจดีย์สำคัญตามเมืองต่างๆ ดังเ! ห็นได้จากพระนามของพระมหากษัตริย์และเจ้านายที่สำคัญที่เรียกว่า สมเด็จพระบรมราชา มหาจักรพรรดิราช และพระอินทราชาธิราช เป็นต้น อุดมคติในเรื่องพระจักรพรรดิราชนี้มักสัมพันธ์กับพระอินทร์ นอกจากนั้นยังสัมพันธ์กับพระราชพิธีเนื่องในโอกาสพิเศษ เช่น พระราชพิธีอินทราภิเษก ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่อุปมาเหมือน การอภิเษกพระอินทร์กลับเข้าไปปกครองบนสวรรค์ช! ั้นดาวดึงส์เหนือยอดเขาพ� ��ะสุเมรุอันเป็นแกนกลางของจักรวาล พระราชพิธีนี้ได้มีกล่าวในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาว่าได้กระทำขึ้นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ในด้านงานศิลปกรรมต่างๆ ก็มีคติความเชื่อเรื่องสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เข้าไปเป็นแรงบันดาลใจให้ช่างด้วยเช่นกัน
สถาปัตยกรรมต่างๆ ของอยุธยานั้นก็มีแรงบันดาลใจจากคติความเชื่อเรื่องไตรภูมิและสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลายวัดมีคูน้ำล้อมรอบนอกจากทางด้านประโยชน์ใช้สอยที่เป็นรูปธรรมแล้ว ยังเป็นการแสดงถึงความเชื่อว่า คูน้ำแทนมหานทีสีทันดรที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางจักรวาล ส่วนเจดีย์ประธานของวัดเทียบได้กับพระศรีรัตนมหาธาตุหรือก็คือ เจดีย์จุฬามณีท�! �่สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั่นเอง ในสมัยของพระเจ้าปราสาททองนั้นมีการฟื้นฟูและสร้างพระราชพิธีทางระบบความเชื่อที่เกี่ยวกับการเป็นจักรพรรดิราช มีการสร้างวัดและปราสาทเป็นจำนวนมาก เช่น วัดไชยวัฒนาราม ที่มีคติการสร้างวัดคือ การสร้างเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางจักรวาล นอกจากนี้พระเจ้าปราสาททองยังได้สร้างพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ขึ้นริ�! �กำแพงพระราชวัง ซึ่งพระเ� �้าปราสาททองเองก็ทรงตั้งชื่อพระที่นั่งนี้เป็นชื่อเดียวกับปราสาทที่ประทับของพระอินทร์
งานจิตรกรรมของศิลปะอยุธยา ที่ปรากฏคติความเชื่อเรื่องไตรภูมิและสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นส่วนใหญ่จะปรากฏในช่วงของอยุธยาตอนกลางและตอนปลาย ซึ่งนิยมเขียนภาพไตรภูมิไว้ผนังด้านหน้าหรือด้านหลังพระประธาน ตัวอย่างงานจิตรกรรมในสมัยอยุธยาก็สามารถหาชมได้มากมาย เช่น จิตรกรรมฝาผนังด้านเหนือ ตำหนักวัดพุทไธสวรรค์ ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๓ สร้างในรัชกาลสม�! �ด็จพระเพทราชา
ประติมากรรม ในศิลปะอยุธยา ปรกฏการทำงานปูนปั้นนูนสูงเรื่องพุทธประวัติตอนเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ประดับอยู่ที่ผนังด้านนอกวิหารวัดไลย์ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑



วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2550

สมทัต

พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์ เกิดเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ในค่ายทหาร ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นบุตรของพลโทเกรียงไกร อัตตะนันทน์ กับคุณหญิงกานดา อัตตะนันทน์ สมรสกับคุณหญิงศุภนภา อัตตะนันทน์




คุณวุฒิก่อนเข้ารับราชการ


พ.ศ. ๒๕๐๓ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ชั้น ม.๖
พ.ศ. ๒๕๐๕ โรงเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ ๒
พ.ศ. ๒๕๑๐ โรงเรียนนายร้อย จปร.ชั้นปีที่ ๕

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2550

นิตย์

นิตย์ พิบูลสงคราม (เกิด 30 มิถุนายน พ.ศ. 2484) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นบุตรของจอมพล ป. พิบูลสงคราม กับท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
นิตย์ พิบูลสงคราม จบการศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ศึกษาต่อระดับมัธยมปลายที่ Wilbraham Academy สหรัฐอเมริกา จบปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์ จาก Dartmouth College และปริญญาโทด้านรัฐศาสตร์ และมหาวิทยาลัยบราวน์ สหรัฐอเมริกา สมรสกับ นางพัชรินทร์ พิบูลสงคราม (ออสมอนด์)
นิตย์เริ่มรับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2511 จนเกษียณอายุราชการในตำแหน่งปลัดกระทรวง เมื่อ พ.ศ. 2544 เคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ในปี พ.ศ. 2530 และตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2538
หลังเกษียณอายุราชการ ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ตุลาคม 2544 – กันยายน 2549) ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร และได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย – สหรัฐ (เอฟทีเอ) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546 แต่ได้ลาออกจากตำแหน่งนี้ในเดือนมกราคม 2549 เนื่องจากกระแสกดดันของสังคม


วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2550

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย ตั้งอยู่ที่แหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี เป็นพื้นที่แปลงทดลองของโครงการตามแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูป่าชายเลน และสถานีบำบัดน้ำเสียชุมชน โดยยึดหลักการ "ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ" นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านในพื้นที่ใช้เป็นแหล่งประกอบอาชีพอื่นๆจากผลผลิตจากสภาพธรรมชาติที่ดีอันเนื่อ�! ��มาจากโครงการ เช่นการใช้พืชที่ปลูกไว้ใช้ในการกรองน้ำเสีย เช่น กกธูป เพื่อทำจักสาน, การทำประมงและจับสัตว์น้ำในพื้นที่ป่าชายเลนที่เกิดขึ้นใหม่ เป็นต้น
การบำบัดน้ำเสียชุมชนในโครงการฯ มี 3 วิธีหลักๆ ได้แก่

แบบ oxidation pond
แบบ constructed wetland
แบบใช้ป่าชายเลนในการกรองน้ำเสีย

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2550

Fuchsia

Fuchsia สามารถหมายถึง


สีฟิวเซีย หรือ สีชมพูฟิวเซีย - สีที่ใช้ในเวบ
โคมญี่ปุ่น ไม้ดอกชนิดหนึ่ง

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2550


สารบัญ
ในการจัดทำบริการสาธารณะให้บรรลุผลนั้น ฝ่ายปกครองมีวิธีการอยู่ ๒ วิธี คือ วิธีการใช้อำนาจฝ่ายเดียวด้วยการออกกฎ ออกคำสั่ง หรือปฏิบัติการต่าง ๆ อันเป็นการใช้อำนาจมหาชนซึ่งเอกชนจะถูกบังคับให้ต้องยอมรับปฏิบัติตาม ทั้งนี้เพราะเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย เช่น ฝ่ายปกครองออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย นิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น�! ��นกรณีนี้ เป็นนิติสัมพันธ์บนฐานของกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวกันว่า "ถ้าไม่มีกฎหมายให้อำนาจ ฝ่ายปกครองย่อมไม่มีอำนาจผูกนิติสัมพันธ์ดังกล่าวได้" วิธีการอีกวิธีการหนึ่งก็คือการใช้สัญญาเป็นเครื่องมือ ทั้งนี้เพราะ ฝ่ายปกครองเห็นว่ากิจกรรมหลายลักษณะ หลายประเภทนั้นไม่เหมาะสม ที่จะใช้วิธีการบังคับหรือไม่มีกฎหมายให้บังคับเอาฝ่ายเดียว จึงต้องใช้�! ��ูปแบบของสัญญาแทนเพื่อใ� �้การจัดทำบริการสาธารณะบรรลุผล นิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในกรณีนี้ จึงเป็นนิติสัมพันธ์บนฐานของสัญญา แต่ก็มิได้หมายความไปถึงขนาดที่ว่า นิติสัมพันธ์ของฝ่ายปกครองที่ตั้งอยู่บนฐานของสัญญานั้น จะต้องบังคับตามหลักว่าด้วยเรื่องของสัญญา ตามกฎหมายแพ่งไปเสียทั้งหมดเช่นเดียวกับสัญญาระหว่างเอกชนด้วยกัน
แม้ในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายต่างกัน เช่นระบบประมวลกฎหมาย (civil law) กับระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ หรือกฎหมายจารีตประเพณี (common law) ล้วนดำเนินกระบวนการในการจัดทำบริการสาธารณะไม่แตกต่างกัน แต่ในประเทศฝรั่งเศสซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย ได้มีการพัฒนาระบบกฎหมายมหาชนแยกออกจากระบบกฎหมายเอกชนอย่างชัดแจ้ง และยังแยกเรื่องสัญญาทางปกครองออกจากสัญญาทางแพ่! งของฝ่ายปกครอง ทั้งนี้เพราะ แนวคิดพื้นฐานของระบบกฎหมายมหาชนฝรั่งเศสนั้นตั้งอยู่บนทฤษฎีว่าด้วยบริการสาธารณะ นั่นคือการบริหารจัดการสังคมของฝ่ายปกครองคือการจัดทำบริการสาธารณะ ทฤษฎีนี้ไม่เพียงครอบคลุมการกระทำฝ่ายเดียวของฝ่ายปกครอง (เช่นการออกกฎ คำสั่ง) เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการทำสัญญาของฝ่ายปกครองอีกหลายลักษณะด้วย
นักกฎหมายมหาชนของฝรั่งเศสและตำรา ตลอดจนข้อเขียนเกี่ยวกับกฎหมายมหาชน หรือกฎหมายปกครองของไทยที่ได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศสได้อธิบายว่า ทฤษฎีบริการสาธารณะนั้นมีหลักสำคัญอยู่ ๓ ประการ คือ



บทนำ
การสนองความต้องการของส่วนรวมที่มักเรียกกันว่า "ประโยชน์สาธารณะ" หรือ "ประโยชน์ส่วนรวม" ไม่ว่าในระดับชาติหรือระดับท้องถิ่นนั้นจะหยุดชะงักไม่ได้ ต้องมีความต่อเนื่องมิเช่นนั้นจะเกิดความเสียหายแก่สังคม หลักนี้มีผลต่อบุคคล ๓ กลุ่มที่เกี่ยวข้อง คือ

ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบจัดทำ จะต้องควบคุมดูแลให้บริการสาธารณะดำเนินไปอยู่ตลอดเวลา มิเช่นนั้นจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นหากมีการหยุดชะงัก เช่น จะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายในอุบัติเหตุรถชนกัน เพราะสัญญาณไฟจราจรเสียหายและไม่จัดการแก้ไขหรือหาวิธีป้องกันในระหว่างนั้น
เจ้าหน้าที่ของฝ่ายปกครอง จะนัดหยุดงานไม่ได้โดยเฉพาะ ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร อย่างไรก็ตาม ความเคร่งครัดในเรื่องนี้อ่อนตัวลงในระยะหลังโดยกฎหมายยอมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบางประเภทหยุดงานได้ เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ
คู่สัญญาฝ่ายเอกชนในสัญญาทางปกครองที่มีวัตถุแห่งสัญญาเป็นการจัดทำบริการสาธารณะ จะต้องปฏิบัติตามสัญญาตลอดไปไม่ว่าจะประสบอุปสรรคและความยุ่งยากเพียงใด เว้นแต่การปฏิบัติตามสัญญานั้นจะตกเป็นพ้นวิสัย อย่างไรก็ตาม หากปัญหาอุปสรรคที่เอกชนคู่สัญญาต้องประสบในการปฏิบัติตามสัญญาเกิดจากเหตุที่ไม่อาจคาดหมายได้ ฝ่ายปกครองจะต้องช่วยเอกชนให้จัดทำบริ! การสาธารณะต่อไป เช่น ด้วยการเพิ่มค่าตอบแทน นอกจากนี้ แม้ฝ่ายปกครองจะเป็นฝ่ายผิดสัญญา เอกชนคู่สัญญาจะอาศัยหลักต่างตอบแทนในกฎหมายแพ่งด้วยการไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าฝ่ายปกครองจะชำระหนี้คือปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาก่อนไม่ได้ เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาต่อไปและเรียกค่าเสียหายจากฝ่ายปกครองแทน

ความต่อเนื่อง
บริการสาธารณะจะต้องมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับพัฒนาการของประโยชน์ส่วนรวม หลักนี้มีผลต่อบุคคล ๓ กลุ่มที่เกี่ยวข้อง คือ

ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบจัดทำ ต้องพัฒนาบริการสาธารณะที่ตนควบคุมดูแลให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในความต้องการของส่วนรวม
เจ้าหน้าที่ของฝ่ายปกครอง ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่อตำแหน่งหน้าที่หากมีการยุบเลิกหรือปรับเปลี่ยนบริการสาธารณะ
คู่สัญญาฝ่ายเอกชนในสัญญาทางปกครอง จะอ้างว่าตนจะปฏิบัติตามสัญญาเดิมไปจนกว่าจะสิ้นอายุสัญญาไม่ได้ ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง หากปรับเปลี่ยนไม่ได้ ฝ่ายปกครองมีสิทธิดำเนินการให้มีการเลิกสัญญาได้ เช่น ได้ทำสัญญาตามไฟตามถนนด้วยก๊าซ เมื่อมีไฟฟ้าเข้ามาแทนที่และมีความสมควรเหมาะสมที่จะใช้ไฟฟ้าแทนก๊าซ เอกชนคู่สัญญาต้องปรับเปลี่ยน จะอ้างว่าจะใช้ก๊�! �ซต่อไปจนสิ้นอายุสัญญาไม่ได้ นอกจากนี้ เอกชนผู้รับบริการหรือผู้บริโภคก็ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงในราคาค่าบริการที่นำมาใช้ในการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนบริการสาธารณะเช่นกัน

การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
บุคคลทุกคนจะมีความเสมอภาคกันในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับบริการสาธารณะ เช่น ทุกคนมีสิทธิใช้บริการสาธารณะโดยเท่าเทียมกันตามเงื่อนไขและลักษณะแห่งการใช้บริการสาธารณะนั้นๆ ทุกคนมีสิทธิสมัครเข้าเป็นเจ้าหน้าที่ของแต่ละบริการสาธารณะหากมีคุณสมบัติครบถ้วน ทุกคนมีสิทธิเข้าทำสัญญาเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะกับฝ่ายปกครอง ฯลฯ
ด้วยเหตุนี้ สัญญาทางปกครองซึ่งเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะโดยทั่วไปแล้ว จึงหมายถึง สัญญาที่ ฝ่ายปกครองทำกับเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์ในการมอบภารกิจทั้งหมดหรือบางส่วนที่เป็นบริการสาธารณะให้เอกชนไปดำเนินการในลักษณะที่เป็นการผสมผสานระหว่างประโยชน์ส่วนรวม และการได้ค่าตอบแทนในรูปของกำไรสำหรับคู่สัญญาที่เป็นเ�! �กชน เช่น สัญญาจ้างก่อสร้างถนน สะพาน เป็นต้น ซึ่งจะแตกต่างกับสัญญาทางแพ่งระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันที่วัตถุประสงค์หลักก็คือกำไร อย่างไรก็ตาม สัญญาทางแพ่งอื่นที่ฝ่ายปกครองทำกับเอกชนก็มิใช่ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม แต่เนื่องจากยังไม่ถึงขนาดที่จัดได้ว่าเป็นการมอบให้เอกชนจัดทำหรือมีส่วนร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะโดยตรง เช่น สัญญาซื้อ�! �ายวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็� ��ต้น
ในประเทศไทย ก่อนจะมีการจัดตั้งศาลปกครอง สัญญาที่ฝ่ายปกครองทำกับเอกชนถือเป็นสัญญาทางแพ่งทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาซื้อขาย จ้างทำของ จ้างแรงงาน เช่า ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ในช่วงประมาณ ๒๐ ปีก่อนมีการจัดตั้งศาลปกครองได้มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องสัญญาทางปกครองในมหาวิทยาลัย การอบรม สัมมนาในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านกฎหมาย เช่น �! ��ำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งตุลาการสังกัดฝ่ายบริหารที่มีอำนาจพิจารณาข้อพิพาททางปกครองตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ก็ได้นำเอาแนวคิดเรื่องสัญญาทางปกครองของฝรั่งเศสไปปรับใช้ในส่วนที่เกี่ยวกับผลของสัญญาอยู่หลายกรณี
ในประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่ เช่น ประเทศฝรั่งเศส และประเทศไทย สัญญาทางปกครองอาจดูเหมือนว่ามีประโยชน์สองด้านที่ขัดแย้งกัน คือ ประโยชน์ส่วนรวมซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของฝ่ายปกครองและประโยชน์ของคู่สัญญาที่เป็นเอกชน จึงจำต้องปรับให้ประโยชน์สองด้านดังกล่าวมีความสมดุลและสอดคล้องกัน การนำหลักกฎหมายที่ไม่เหมาะสมมาปรับใช้กับสัญญาทางปกครอง อาจทำให้เกิ�! �ผลเสียทั้งในแง่การรักษาประโยชน์ส่วนรวมและสิทธิประโยชน์ของเอกชนที่เป็นคู่สัญญา หรือที่จะเข้ามาเป็นคู่สัญญากับฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งของศาลปกครองที่จะต้องวางแนว คำวินิจฉัย ให้เป็นบรรทัดฐานต่อการพัฒนาระบบกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองต่อไปในอนาคต



ความเสมอภาค
ประเทศฝรั่งเศสถือว่าเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับการยอมรับว่ามีระบบกฎหมายปกครองและระบบศาลปกครองที่ได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมาก สัญญาทางปกครองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายปกครองของฝรั่งเศส จึงมีวิวัฒนาการทางด้านแนวคิดและการปรับใช้แนวคิดดังกล่าวมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานเช่นกัน โดยมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากสัญญาทางแพ่งของฝ่ายปกครองหลายประกา�! � การศึกษาพัฒนาการของระบบสัญญาทางปกครองของฝรั่งเศสจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และเป็นประโยชน์สำหรับประเทศที่มีการแยกสัญญาทางปกครองออกจากสัญญาทางแพ่งของฝ่ายปกครอง
บทความหลักดูที่ สัญญาทางปกครองในกฏหมายฝรั่งเศส
แนวคิดเรื่องสัญญาทางปกครองเป็นส่วนที่สำคัญมากส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายมหาชนของฝรั่งเศส และมีอิทธิพลต่อการพัฒนาระบบกฎหมายมหาชนในประเทศไทยอยู่มากพอสมควรดังจะได้กล่าวต่อไป



แนวคิดเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย ดังนั้น จึงได้รับอิทธิพลทั้งในแง่แนวคิด หลักกฎหมาย และนิติวิธีจากประเทศที่เป็นต้นแบบของระบบประมวลกฎหมาย เช่น ประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่เริ่มแรก อย่างไรก็ตาม ในการใช้กฎหมายของศาลยุติธรรมหรือในการกำหนดให้มีระบบเนติบัณฑิต โดยนักกฎหมายที่สำเร็จการศึกษาเนติบัณฑิตจากประเทศอังกฤษ มีส่วนสำคัญที่ทำให้มีการส�! ��ดแทรกแนวคิด นิติวิธีและระบบวิชาชีพของกฎหมายคอมมอนลอว์เข้าไปในกฎหมายไทยอยู่ไม่น้อย จนบางครั้งก็ทำให้เกิดความสับสน ซึ่งเป็นผลมาจากแนวคิดและนิติวิธีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแตกต่างกันอย่างมากในระบบกฎหมายสำคัญสองระบบที่กล่าวมา นอกจากนี้ ปรัชญาหรือทิศทางในการเรียนการสอนหรือความเข้าใจเกี่ยวกับวิชากฎหมายในอดีตมักจะเน้นการผลิตบุคลากรไปรองรับง! านศาล อัยการหรือทนายความ เป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับคดีแพ่ง คดีอาญา และบุคคลที่จะเข้าไปเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการได้จะต้องสอบเป็นเนติบัณฑิตเสียก่อน หรือในบางยุค หากทนายความคนใดสอบเป็นเนติบัณฑิตไม่ได้ ก็ไม่สามารถว่าความทั่วราชอาณาจักรได้ ทั้งหมดนี้ ทำให้ความรู้ ความเข้าใจ และ การเรียนการสอนวิชากฎหมายไม่ค่อยจะครอบคลุมไปถึงกฎหมายมหาชน แม้แต่การศึกษาถึง�! �ิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในความสัมพันธ์กับกฎหมายอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตลอดจนสิทธิทางแพ่ง ก็แทบจะไม่มีเลย ดังนั้น เมื่อเริ่มมีการตื่นตัวในทางกฎหมายมหาชนอีกครั้งในราว พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๑๗ เป็นต้นมา อิทธิพลของระบบกฎหมายฝรั่งเศสจึงกลับมาและค่อย ๆ แพร่ขยายผ่านทางหลักสูตร นิติศาสตรบัณฑิต และการอบรมสัมมนาของสถาบันทางกฎหมาย เช่น สำนักงานคณะกร! รมการกฤษฎีกา และคณะกรรมก ารวินิจฉัยร้องทุกข์ เป็นต้น



อิทธิพลของระบบกฎหมายปกครองฝรั่งเศสในเรื่องสัญญาทางปกครองที่มีต่อกฎหมายไทย
ในการดำเนินงานของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งมีสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นหน่วยธุรการนั้น ได้มีการนำหลักกฎหมายปกครองฝรั่งเศในเรื่องสัญญาทางปกครองและหลักกฎหมายปกครองอื่นๆ มาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาการปฏิบัติงานของฝ่ายปกครองให้เกิดดุลยภาพระหว่างประโยชน์สาธารณะกับสิทธิเสรีภาพและประโยชน์ของเอกชนอย่างต่อเนื่อง เช่นการนำเหตุที่เป็นอุป�! �รรคต่อการปฏิบัติตามสัญญา แต่คู่สัญญาไม่ทราบว่ามีเหตุนั้นในขณะทำสัญญา (les imprévus) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เกิดขึ้นตามแนวคำพิพากษาของศาลปกครองฝรั่งเศสมาปรับใช้กับกรณีที่คู่สัญญาไม่ทราบมาก่อนว่าบริเวณสถานที่ก่อสร้าง มีปัญหาเกี่ยวกับการรับน้ำหนักของดิน ซึ่งผิดไปจากชั้นดินทั่วไปตามปกติในกรุงเทพมหานคร ทำให้การกำหนดความยาวของเสาเข็มผิดพลาด เอกชนคู่สัญญ�! �จำต้องเพิ่มความยาวของเส าเข็มที่ใช้ คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จึงวินิจฉัยให้หน่วยงานของรัฐคู่สัญญาต้องจ่ายเงินค่าเสาเข็มเพิ่มให้แก่เอกชนคู่สัญญา คำวินิจฉัยคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ที่ ๑๒/๒๕๒๔ (กรณีบริษัทสีลมเซี่ยงไฮ้เฟอร์นิเจอร์และก่อสร้างจำกัด ร้องทุกข์ กรมวิชาการ) ซึ่งเอกสารประกอบสัญญามีข้อความคนละแนวทาง โดยข้อหนึ่งให้การก่อสร้างอาคารใช้เสาเข็มยาว ๒๓ เมตร! แต่อีกข้อหนึ่งกำหนดให้ตอกเสาเข็มลงจนรับน้ำหนักได้เท่าที่กำหนด (มีการตอก blow count) ตามวิธีการที่กำหนดได้ ๕๐ ครั้งโดยไม่ทรุดลงอีก) ปรากฏว่าในบริเวณก่อสร้างเมื่อดำเนินการไปจริงมีชั้นดินเหลวอยู่ข้างล่าง โดยคู่กรณีไม่ทราบมาก่อนและผู้เชี่ยวชาญที่มาให้ความเห็นในการพิจารณาเห็นว่าอาจเป็นบึงหรือสระโบราณมาก่อน และต่อมาได้ถูกชั้นดินถม ทำให้ดินไม่พอรับ�! �้ำหนักได้อย่างบริเวณทั่ วไปในกรุงเทพมหานคร ต้องเพิ่มเสาเข็มจำนวนมาก จากความยาว ๒๓ เมตร เป็น ๒๕.๕๐ เมตร และ ๒๘ เมตรผู้ร้องทุกข์จึงขอค่าใช้จ่ายเพิ่ม กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ฝ่ายเสียงข้างมากเห็นว่า ข้อความในสัญญา ๒ ข้อแสดงว่าต้องทำให้ได้อย่างใดอย่างหนึ่งที่กำหนด หากตอกลงไปได้กำลังรับน้ำหนักพอก็ตัดเสาเข็มที่เกิน แต่ถ้าตอกไปแล้วรับน้ำหนักไม่ได้ก็ต้องต่อเสาเข็มจนรับน้ำ! หนักได้ตามที่กำหนด โดยขอเพิ่มเงินไม่ได้ มิฉะนั้นข้อกำหนดการรับน้ำหนัก blow count ๕๐ ครั้งจะไร้ผล แต่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ฝ่ายเสียงข้างน้อย เห็นว่า สัญญาระหว่างรัฐบาลกับเอกชนจะต้องตีความไปตามความเข้าใจโดยสุจริตของคู่กรณี และต้องไม่ตีความไปในทางเอารัดเอาเปรียบประชาชน เพราะรัฐบาลย่อมจะไม่ประสงค์เช่นนั้น อันเป็นการวางหลักเรื่องการเป็นรัฐบาลที�! ��ดี (bon administrateur) ที่จะไม่ฉวยโอ� ��าสตีความสัญญาให้ตนได้เปรียบเป็นหลัก แม้หนทางตีความเช่นนั้นจะเป็นไปได้ตามกฎหมาย และเห็นว่าสภาพการทำสัญญาก่อสร้างอาคารเช่นนี้ทางราชการมีบุคลากรที่ตรวจสอบก่อนทำสัญญาอยู่ด้วย เพื่อให้ราคาก่อสร้างใกล้เคียงความเป็นจริง ความต้องการในขนาดเสาเข็มจึงได้พิจารณากันมาก่อนแล้ว และการปฏิบัติตามสัญญาต้องให้ความสำคัญแก่สัญญาทั้งสองข้อนั้นโดยเท่าเท�! ��ยมกัน โดยจะต้องใช้เสายาวขนาดนั้นและตอกให้รับ น้ำหนักได้เช่นนั้น โดยไม่เกี่ยวกับค่าตอบแทนในการก่อสร้าง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสภาพดินอ่อนในชั้นถัดไปไม่เป็นที่รู้กันมาก่อนระหว่างคู่กรณี โดยเป็นดินอ่อนเฉพาะบริเวณที่ก่อสร้างมิใช่พื้นที่ย่านนั้นทั้งหมด กรณีย่อมอยู่นอกเหนือการคาดหมายแต่เดิมของคู่กรณี (sujétion imprévue) เมื่อเนื้องานเพิ่มขึ้นก็ต้องจ! ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้นตามส� ��วน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์นี้แล้วมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมของกรมวิชาการโดยให้จ่ายเงินเพิ่มให้ตามความเห็นของกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ฝ่ายเสียงข้างน้อย
ในทางตรงกันข้าม หากคู่สัญญาต่างก็ทราบว่าดินในจังหวัดสมุทรปราการเป็นดินอ่อนและอาจต้องเปลี่ยนแปลงเสาเข็ม จึงได้ระบุไว้ชัดเจนในสัญญาว่าถ้าเสาเข็มต้นใดลึกไม่ถึงกำหนดก็ให้ตัดหัวเสาเข็มได้และถ้าหากความลึกของเสาเข็มไม่ได้ตามระยะก็ให้เอกชนคู่สัญญาเพิ่มความยาวของเสาเข็มได้โดยไม่คิดค่าเสาเข็มเพิ่ม ดังนี้ เอกชนคู่สัญญาจะเรียกร้องค่าเสาเข็มเพ�! ��่มจากหน่วยงานของรัฐคู่สัญญาไม่ได้ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ที่ ๒๐/๒๕๓๑)
การนำความหมายของสัญญาทางปกครองของฝรั่งเศสและผลของสัญญาดังกล่าวมาปรับใช้ โดยการทำบันทึกข้อสังเกตของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณา



แนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ที่นำหลักสัญญาทางปกครองของฝรั่งเศสมาปรับใช้
ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เดิมทีเดียว มีแนวคิดกันว่าเมื่อจะให้มีระบบสัญญาทางปกครองขึ้นในประเทศไทย ก็น่าจะทำแบบประเทศเยอรมนีคือ บัญญัติถึงความหมาย ประเภทและเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสัญญาทางปกครองไว้ในร่างกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ดังนั้น ในร่างกฎหมายดังกล่าวจะมีทั้งเรื่องเกี่ยวกับคำสั่งท! างปกครองและสัญญาทางปกครอง ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการจัดทำบริการสาธารณะของฝ่ายปกครอง แต่ในที่สุดก็แยกเรื่องสัญญาทางปกครองออกมาบัญญัติถึงความหมายไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ทั้งนี้ เพราะเห็นว่าควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของศาลปกครองที่จะไปสร้างและพัฒนาหลักดังกล่าวให้เหมาะสมกับประเทศไทย ทำนองเดียวกับที่ศาลปกครองฝรั่งเศสได้สร้างและพ�! �ฒนาระบบสัญญาทางปกครองขอ งตนขึ้นมา ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ที่เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรจึงได้นิยามศัพท์คำว่า "สัญญาทางปกครอง" ไว้ว่า"สัญญาทางปกครอง" หมายความว่า สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้คู่สัญญาเข้าดำเนินกิจการบริการสาธารณะ สัญญาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดให้มีสิ่งที่เป็นสาธารณูปโภค ! หรือสัญญาที่มีกฎหมายกำหนดให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
สภาผู้แทนราษฎรได้แก้ไขบทนิยามข้างต้นเป็นดังนี้ "สัญญาทางปกครอง" หมายความว่า สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐและมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งที่เป็นสาธารณูปโภคหรือให้จัดทำประโยชน์เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ หรือที่ทำขึ้นเพื่อให้วัตถุประสงค! ์ในทางปกครองบรรลุผล ในชั้นการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ ๒ ครั้งที่ ๒๓ วันพุธที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ กรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนฯ กรณีนายสุวโรช พะลัง ส.ส. จังหวัดชุมพร ขอแปรญัตติ นิยามคำว่า สัญญาทางปกครอง มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
"สัญญาทางปกครองที่แปรญัตติไว้ ให้หมายความรวมถึง สัญญาอื่นที่เกิดขึ้นโดยการใช้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ข้อความดังกล่าวแคบไป คือต้องเกิดจากอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น แต่ขณะเดียวกันงานในทางปกครองหลายงานพูดไม่ชัดว่ามีกฎหมายโดยตรงให้อำนาจไว้ แต่ทางปกครองก็ต้องทำอยู่ เช่น ให้ทุนนักศึกษา เขาได้รับทุนไปก็ต้องท�! ��สัญญาว่าต้องกลับมาชดใช้ทุนอย่างไร เป็นต้น ก็ไม่ได้มีกฎหมายที่ไหนสนับสนุนบอกว่าให้ไปทำสัญญานั้นโดยตรง แต่ว่าสัญญาเหล่านั้นก็เป็นเรื่องในทางปกครองที่เกี่ยวข้องอยู่ ฉะนั้น ข้อความที่กรรมาธิการเขียนไว้จะกว้างกว่า จะทำให้สัญญาทางปกครองกว้างขวางขึ้นตามลักษณะที่ควรจะเป็น"
เมื่อสภาผู้แทนราษฎรส่งร่างกฎหมายดังกล่าวไปยังวุฒิสภา วุฒิสภาได้แก้ไขบทนิยามที่กล่าวมาเป็น ดังนี้ "สัญญาทางปกครอง" หมายความว่ารวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซี่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยาก�! ��ธรรมชาติ
ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการวิสามัญฯ ของวุฒิสภา ในการประชุมครั้งที่ ๒ วันพุธที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๒ และครั้งที่ ๑๖ วันพุธที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๒ มีประเด็นหนึ่งที่ได้อภิปรายกันคือ
"ตัวอย่างของสัญญาที่ให้จัดหาประโยชน์เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ การทำเหมืองแร่หรือป่าไม้ หรือจัดหาประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติ ส่วนสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในทางปกครองบรรลุผลอาจได้แก่ สัญญาเกี่ยวกับการให้ทุนนักศึกษาต่อโดยมีข้อสัญญาให้ต้องกลับมาทำงานให้แก่หน่วยงานตามระยะเวลาที่กำหนด แต่สัญญาอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการปกครอง เช่น ซื้อ�! �ระดาษ ซื้อดินสอ วัสดุสำนักงาน ปกติไม่ใช่สัญญาทางปกครอง เพราะไม่เกี่ยวกับการใช้อำนาจปกครองหรือเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ หากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาประเภทนี้ก็จะต้องฟ้องยังศาลยุติธรรม จุดแบ่งแยกระหว่างสัญญาทางปกครองกับสัญญาทางแพ่ง คงต้องพัฒนาขึ้นในอนาคตด้วยส่วนหนึ่งโดยคำพิพากษาของศาล ซึ่งก็จะเกิดความชัดเจนขึ้นมาตามลำดับ หรือหากศาลทั้! ง ๒ ระบบเกิดขัดแย้งกัน ก็� ��ป็นหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่จะเป็นผู้พิจารณา"
เห็นได้ว่า ฝ่ายนิติบัญญัติทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต้องการให้สัญญาทางปกครองมีความหมายกว้างกว่าต้นร่างเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขในชั้นวุฒิสภาที่เป็นถ้อยคำของกฎหมายต่อมา จึงทำให้สัญญาทางปกครองมี ๒ ประเภท คือ กรณีที่กฎหมายกำหนดไว้ได้แก่สัญญาสัมปทาน สัญญาที่จัดให้มีบริการสาธารณะ สัญญาที่จัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค สัญญาที่จัดให้แสวงประ�! ��ยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และกรณีที่ศาลปกครองหรือคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะกำหนดต่อไป หลังจากที่มีการจัดตั้งศาลปกครองโดยเริ่มจากศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๔ แล้ว ศาลปกครองก็ได้วางหลักถึงลักษณะของสัญญาทางปกครองที่นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด โดยใช้แนวทางของศาลปกครองฝรั่งเศสดังจะได้กล่าวต่�! �ไปในส่วนที่ ๓


สัญญาทางปกครองในกฎหมายไทย
ความเป็นมาของบทนิยามคำว่า "สัญญาทางปกครอง"



การพิจารณาวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาของฝ่ายปกครองก่อนมีการจัดตั้งศาลปกครอง
รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดให้มีศาลปกครองขึ้น โดยแบ่งออกเป็นสองชั้น คือ ศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้น สำหรับศาลปกครองชั้นต้นนั้นแบ่งออกเป็นศาลปกครองกลางและศาลปกครองในภูมิภาค ในขณะนี้ได้มีการเปิดทำการศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองกลางและศาลปกครองในภูมิภาคอีก ๖ ศาล (เชียงใ! หม่ สงขลา นครราชสีมา ขอนแก่น พิษณุโลก ระยอง) และจะมีการทยอยเปิดทำการศาลปกครองในภูมิภาคที่เหลืออีก ๑๐ ศาลต่อไป
กฎหมายจัดตั้งศาลปกครอง ฯ ได้กำหนดให้คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง และได้นิยามความหมายของสัญญาทางปกครองไว้เป็นครั้งแรกในระบบกฎหมายไทย ในมาตรา ๓ ว่า "สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให! ้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ"
จากนิยามดังกล่าว จะเห็นได้ว่า สัญญาที่จะเป็นสัญญาทางปกครองนั้นประการแรก คู่สัญญาอย่างน้อยหนึ่งฝ่ายต้องเป็นฝ่ายปกครองหรือผู้ที่กระทำการแทนฝ่ายปกครอง ประการที่สอง ต้องเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนสัญญาอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาจะแก่สัญญาในลักษณะใดบ้าง�! �ั้น กฎหมายเปิดโอกาสให้ศาลปกครองและคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเป็นผู้วางแนวทางและวางหลักต่อไป
อย่างไรก็ดี การที่จะพิจารณาว่าสัญญาใดเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่นั้น ไม่ได้พิจารณาจากหลักเกณฑ์ที่ว่าเป็นสัญญาที่ทำขึ้นตามแบบตัวอย่างสัญญาท้ายระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือไม่ แต่ต้องพิจารณาจากมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบกับคำอธิบายความหมายของสัญญาทางปกครองซึ่งที่ป�! �ะชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดได้ขยายความเพิ่มเติมไว้ ดังนั้น สัญญาทางปกครองจึงไม่รวมถึงสัญญาระหว่างผู้ใช้บริการสาธารณูปโภคกับฝ่ายปกครอง ผู้จัดทำบริการสาธารณูปโภค เช่น สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างผู้ใช้บริการไฟฟ้ากับการไฟฟ้านครหลวงย่อมเป็นสัญญาทางแพ่ง ไม่เป็นสัญญาทางปกครอง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๑๗๔/๒๕๔๕) สัญญาเช่าโทรศัพท์ / คู่สาย / วงชร! เช่า ไม่ใช่สัญญาทางปกครอ ง (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๖๒/๒๕๔๕) นอกจากนั้น สัญญาซื้อขาย เช่น วัสดุอุปกรณ์สำนักงานของฝ่ายปกครอง หากไม่มีข้อกำหนดในสัญญาที่เป็นการให้เอกสิทธิ์แก่รัฐเป็นพิเศษเพื่อให้การดำเนินบริการสาธารณะบรรลุผลแล้วไม่ถือเป็นสัญญาทางปกครอง


วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2550

สโมสรฟุตบอลราชวิถี

สโมสรฟุตบอลราชวิถี เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ปัจจุบันเล่นใน ดิวิชัน 1


�
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์
อารมณ์ จันทร์กระจ่าง
ภาณุวัฒน์ ร่วมฤดีกูล
สิทธิพร ผ่องศรี
อำนาจ เฉลิมชวลิต
จุฑา ติงศภัทิย์
ทรงไทย สหวัชรินทร์
เอกชัย สนธิขัณธ์
วีระยุทธ สวัสดี
ปรีชา กิจบุญ
แก้ว โตอดิเทพ
สุรินทร์ เข็มเงิน
เชิดศักดิ์ ชัยบุตร
โรจนะ สมุลไพร
ไพบูลย์ ขันธรักษา
เทพพิทักษ์ จันทร์สุเทพ

วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2550

สกลนคร

สกลนคร อาจหมายถึง

จังหวัดสกลนคร
อำเภอเมืองสกลนคร
เทศบาลเมืองสกลนคร
สโมสรฟุตบอลสกลนคร

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2550

วิลเลี่ยม

วิลเลี่ยม แกรแฮม ซัมเนอร์ (William Graham Sumner -พ.ศ. 2383-2453) ชาวอเมริกันผู้เรียกร้องสนับสนุนการค้าเสรีในสังคมอุตสาหกรรม ที่พวกสังคมนิยมเรียกว่า "ทุนนิยม"
ซัมเนอร์จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเยล และต่อมาได้เป็นศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาที่ที่มหาวิทยาลัยนี้ ในฐานะเป็นนักสังคมวิทยา ผลงานของซัมเนอร์จึงเกี่ยวกับการพัฒนาแนวคิดเรื่อง การแพร่กระจาย วิถีชาวบ้าน การหลงชาติพันธุ์ (Ethnocentrism) การศึกษาด้านวิถีชาวบ้านทำให้ซัมเนอร์สรุปว่า การ "ปฏิรูป" เป็นสิ่งไร้ประโยชน์ นอกจากนี้เขายังเป็นผู้สนุบสนุนระบบเศรษฐกิ�! �เสรี (laissez-faire) อย่างสุดขั้ว
วิลเลี่ยม แกรแฮม ซัมเนอร์ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปกป้องระบบการค้าเสรี และวิพากษ์วิจารณ์ลิทธิคอมมิวนิวต์อย่างรุนแรงถึงกับมีการตั้งสมาคมซัมเนอร์ขึ้น

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2550

เดิร์จ

เดิร์จ ออฟ เซอร์เบรัส:ไฟนอลแฟนตาซี VII (Dirge of Cerberus: Final Fantasy VII) คือเกมแนวชู้ตติ้ง (shooting) กึ่ง อาร์พีจี มีตัวละครเอกคือ วินเซนต์ วาเลนไทน์ ที่ซึ่งเป็นตัวละครจากเกม ไฟนอลแฟนตาซี VII ผลิตและวางจำหน่ายโดยบริษัท สแควร์เอนิกซ์ ในปี ค.ศ. 2006


วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2550

ตะพาบม่านลาย

ตะพาบม่านลาย (ภาษาอังกฤษ : Narrow-headed Softshell Turtle, Burmese Chitra) เป็นตะพาบที่มีลวดลายสวยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitra chitra มีรูปร่างคล้ายตะพาบทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก หัวเล็กและลำคอยาว จมูกค่อนข้างสั้นยาว เล็กมากจะมีแถบสีเหลืองปนน้ำตาลบนส่วนหัวและกระดองอย่างชัดเจน แถบจะพาดผ่านส่วนหัวยาวอย่างต่อเนื่องมาบนกระดอง ส่วนท้องจะมีสีขาวหรือขาวอมชม! พู โดยโตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 1.5 เมตร และหนักถึง 100-120 กิโลกรัม เชื่อว่ามีอายุยืนยาวได้กว่า 100 ปี มีถิ่นกำเนิดที่แม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี แม่น้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี และแม่น้ำปิงในเขตภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น และมีรายงานว่าพบที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง และพบที่มาเลเซียและอินโดนีเซียด้วย
ตะพาบตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่บนหาดทรายริมแหล่งน้ำ โดยขุดหลุมลึก 40-50 เซนติเมตร ออกไข่เสร็จแล้วจะปิดทรายไว้ปากหลุมทิ้งไว้ประมาณ 2 เดือน ไข่จะฟักออกเป็นตัว ลูกตะพาบจะวิ่งหาลงน้ำ และหาอาหาร ซึ่งได้แก่ ลูกปลา ลูกกุ้งและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เลี้ยงตัวจนถึงวัยเจริญพันธุ์ โดยพฤติกรรมในธรรมชาติจะฝังตัวอยู่ใต้ทรายในพื้นน้ำ โผล่มาแต่เฉพาะตาและจมูกเท�! �านั้น และจะหาเหยื่อด้วยวิธีการซุ่มนี้
สถานภาพปัจจุบันไม่พบรายงานในธรรมชาติมานานเป็นระยะเวลากว่า 30 ปีแล้ว จนเชื่อได้ว่าอาจสูญพันธุ์ไปแล้วจากแหล่งธรรมชาติ เนื่องจากถูกล่าเป็นอาหารและสัตว์เลี้ยงอย่างมาก รวมทั้งถูกคุกคามในเรื่องที่อยู่อาศัยในธรรมชาติด้วย และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 แต่ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ตะพาบม่านลายได�! �สำเร็จในที่เลี้ยงได้แล้ว แต่เมื่อเทียบกับเต่าหรือตะพาบชนิดอื่นแล้ว นับว่ามีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ากว่ามาก
ตะพาบม่านลายยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า กริวลาย, กราวด่าง, ม่อมลาย, มั่มลาย เป็นต้น
อนึ่ง ตะพาบม่ายลายยังมีชนิดแยกย่อยไปอีก โดยพบที่อินเดียมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitra indica


วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2550

กรุงเทพประกันภัย

เกียรติประวัติสูงสุด นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราตั้งให้แก่บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2547 ซึ่งถือเป็นสิริมงคลและเป็นเกียรติประวัติสูงสุดของบริษัทฯ ผู้บริหารและพนักงานทุกคน ที่ได้รับพระราชทานพระบารมีปกป้องในครั้งนี้
ตราตั้งพระราชทานนี้เป็นประดุจเอกสารรับรองว่า บริษัทที่ได้รับพระราชทานได้ประกอบธุรกิจการค้าโดยซื่อสัตย์สุจริต ตั้งอยู่ในศีลธรรม มีหลักฐานมั่นคง เป็นที่เชื่อถือแก่มหาชนทั้งหลายและเพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้ประกอบธุรกิจ อันจะเป็นการส่งเสริมธุรกิจในประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงตลอดไป
กรุงเทพประกันภัย ได้ดำเนินการขอพระราชทานตราตั้ง ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2519 โดย คุณชิน โสภณพนิช ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการในขณะนั้นจวบถึงวันนี้ วันที่ได้รับพระราชทานตราตั้งให้เป็นบริษัทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงนับเป็นเวลาอันมีค่ายิ่งซึ่งบริษัทฯ จะตระหนักถึงคุณค่าและรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียงอย่างดีงามสืบต่อไป

ประวัติบริษัท

ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 ได้ย้ายสำนักงานมาอยู่ที่อาคารเอเชีย ถนนเสือป่า
ในปี พ.ศ. 2507 เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด
พ.ศ. 2511 สร้างสำนักงานแห่งใหม่บนถนนสีลม
พ.ศ. 2521 บริษัทฯ เข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน จำกัด ในชื่อ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในปี พ.ศ. 2536
จากความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ตลาดประกันภัยเสรี และความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาธุรกิจ ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากขึ้น บริษัทฯ จึงย้ายสำนักงานมายังทำเลใจกลางย่านธุรกิจ ณ อาคารกรุงเทพประกันภัย ถนนสาทรใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จวบถึงปัจจุบัน ปัจจุบัน บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจเข้าสู่ปีที่ 60 ด้วยทุนจดทะเบียน 507ล้านบาท ภายใต้การบริหารของคุณชัย โสภณพนิช ประธานกร�! ��มการและกรมการผุ้อำนวยการใหญ่ รวมทั้งคณะผู้บริหารและพนักงาน ที่พร้อมให้บริการแก่ลูกค้าให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด
ในภาวะการแข่งขันของธุรกิจประกันวินาศภัย บริษัทฯได้พิสูจน์ความเป็นผู้นำวงการประกันภัย โดยได้รับประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพมาตรฐานสากล ISO 9002 : 1994 ด้านบริการของฝ่ายประกันภัยยานยนต์ ตั้งแต่ปี 2540 นับเป็นบริษัทประกันภัยแห่งแรกในไทยและภูมิภาคเอเชีย และขยายผลรับรองทุกระบบงานเมื่อปี 2543 ล่าสุด บริษัทฯ สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าอีกครั้ง โดยได้ผ่านการ! รับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 : 2000 ทุกระบบงาน เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2545 จาก Bureau Veritas (Thailand) Ltd. (BVQI) ภายใต้สถาบันรับรองคุณภาพ UKAS

เคาน์เตอร์ ตลอดระยะเวลาของการดำเนินธุรกิจ บริษัทฯ ที่ให้บริการด้วยความซื่อตรง และยุติธรรม ตอบสนองความต้องการของลูกค้า (Customer Oriented) ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการดำเนินธุรกิจเสมอมา และเพื่อให้เกิดความสะดวกตอบสนองตรงตามความต้องการ สานสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จึงได้มีการวางแผนเชิงรุก เพิ่มวิสัยทัศน์การบริหารงาน สำรวจความต้องการของลูกค้า พัฒนารูปแบบกา! รบริการใหม่ๆ ซึ่งเป็นที่มาของโครงสร้างองค์กรใหม่ ภายใต้แนวคิด "หนึ่งจุดบริการที่พร้อมสรรพ เพื่อหลากความต้องการของลูกค้า" (Single Contact Point) โดยแบ่งการบริการตามประเภทของลูกค้า 4 ช่องทางใหญ่ๆ คือ สถาบันการเงิน บริษัทนายหน้า ตัวแทนประกันวินาศภัย และลูกค้าตรง ซึ่งทีมงานแต่ละช่องทาง สามารถให้บริการได้ครบทุกประเภท ของการประกันวินาศภัยที่ต้องการ
www.bki.co.th

วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2550

ทหาร

ทหาร หมายถึง ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ นักรบ ผู้เป็นกำลังรักษาความมั่นคงและบำรุงประเทศและผู้เป็นกำลังรบและทำหน้าที่อื่นๆ ในยามสงคราม




ทหารในประเทศไทย
ทหารในประเทศไทย จำแนกออกเป็น 3 เหล่าทัพ ได้แก่ ทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ


วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์

พบเนื้อหาที่อาจละเมิดลิขสิทธิ์


http://www.rsu.ac.th/engineer/main.html เรียกดู แนะนำวิทยาลัย

แจ้งเมื่อวันที่: 26/5/2550

บทความนี้ได้ถูกขึ้นบัญชีไว้ที่ วิกิพีเดีย:ปัญหาลิขสิทธิ์ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายวิกิพีเดีย กรุณาศึกษาวิธีเขียนงานโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ หากมีข้อสงสัย ถามได้ที่ โต๊ะเลขา
กรุณางดการแก้ไขหน้านี้ และอย่าเอาป้ายนี้ออก
โดยวิธีที่ดีที่สุดนั้นควรทำการเขียนเนื้อหาขึ้นมาใหม่ ซึ่งการแก้ไขเล็กๆน้อยๆจากเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์นั้นไม่เพียงพอ กรุณาอย่าส่งข้อความที่เป็นปัญหาซ้ำอีก เพราะมันจะถูกลบออกอีกครั้ง ในกรณีที่คุณเพิ่มข้อความลงในหน้าชั่วคราว โปรดระบุการแก้ไขดังกล่าวที่หน้าอภิปราย

ระบุที่เว็บไซต์ของคุณว่าเนื้อหาอยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ GFDL และแจ้งให้เราทราบที่หน้าอภิปรายของบทความนี้
โปรดทราบว่าเนื้อหาที่นำมานั้นต้องมีความเป็นกลาง แม้หากว่าไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่อาจไม่เป็นสารานุกรม หรือไม่เหมาะสมสำหรับวิกิพีเดีย

หากไม่มีบทความในหน้าชั่วคราว หรือไม่มีการชี้แจงในหน้าอภิปราย บทความนี้จะถูกลบหลังจากพ้นกำหนด 7 วัน นับตั้งแต่วันที่แจ้ง
อย่างไรก็ตาม เมื่อวิกิพีเดียได้รับอนุญาตให้ใช้ข้อความที่เคยเป็นปัญหา บทความนี้จะถูกแก้กลับคืนเป็นเช่นเดิมก่อนได้รับแจ้งปัญหา
หากต้องการเขียนเนื้อหาขึ้นมาใหม่แทนที่เนื้อหาเดิม ให้ใช้หน้าชั่วคราวสำหรับบทความนี้
ถ้าคุณเป็นผู้ถือครองลิขสิทธิ์ และต้องการให้วิกิพีเดียใช้ข้อความที่เป็นปัญหานี้ภายใต้สัญญาอนุญาต GFDL กรุณา:
การส่งงานอันมีลิขสิทธิ์เข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ถือครองลิขสิทธิ์ นอกจากจะละเมิดกฎหมายแล้ว ยังละเมิดนโยบายของเราด้วย
บุคคลที่ละเมิดนโยบายนี้อย่างต่อเนื่อง อาจถูกห้ามมิให้แก้ไขบทความในสารานุกรมเป็นการชั่วคราว
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ข้อความที่เป็นปัญหานี้จะละเมิดลิขสิทธิ์ก็ตาม เรายังคงยินดีรับงานต้นฉบับทุกชิ้นจากคุณเสมอ
คุณยังคงสามารถอ่านข้อความเดิมที่ถูกส่งเข้ามาได้ที่หน้าประวัติของหน้าบทความนี้

วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2550

กันสึ



กันสึ (GANTZ) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเขียนโดย อาจารย์ ฮิโรยะ โอคุ (Hiroya Oku) ตีพิมพ์และได้ลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์



เนื้อเรื่องย่อ
คุโรโนะ เค เด็กมัธยมปลายที่ไม่ค่อยมีคนสนใจและไม่เป็นที่สนใจของเพื่อนๆ เท่าไหร่นัก อยู่มาวันหนึ่ง เค ได้ไปพบกับเพื่อนเก่าสมัยประถม ชื่อ คาโต้ มาซารุ และทั้งคู่ได้เสียชีวิตพร้อมกันจากการที่ได้ลงไปช่วยชีวิตชายขี้เมาคนหนึ่งที่เผลอตกลงไปบนรางรถไฟใต้ดิน แต่เมื่อสติกลับคืนมา ทั้งคู่พบว่าได้มาอยู่ในห้องๆ หนึ่ง โดยมีลูกบอลสีดำวางอยู่ และมีกลุ่มคน�! �ี่คิดว่าตัวเองตายแล้วมารวมอยู่ในห้องนั้นด้วย และเมื่อทั้งหมดได้พูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ ทันใดนั้นก็มีเสียงเพลงดังขึ้นพร้อมกับลูกบอลสีดำภายในห้องก็เกิดข้อความพร้อมภาพถ่ายขึ้นมา โดยข้อความกล่าวไว้ให้ไปกำจัดบุคคลภายในรูปให้สำเร็จ (บุคคลในรูปในเรื่องเรียกว่ามนุษย์ต่างดาว) ทันใดนั้นเองลูกบอลสีดำก็แตกออก ภายในลูกบอลนั้นมีร่างมนุษย์นั่ง�! ��ิ่งอยู่ (เรียกว่ากันสึ) แ� ��ะมีอาวุธมากมายพร้อมกับชุดรัดรูป (ในเรื่องเรียกชุดสูท) และแล้วทุกคนก็เริ่มหายไปทีละคนเพื่อไปกำจัดคนภายในภาพถ่าย ซึ่งที่ๆ ไปก็เหมือนเมืองทั่วไปที่พวกเขาเคยอยู่ แต่คนภายนอกจะไม่เห็นตัวพวกเขา เมื่อกำจัดบุคคลในภาพได้แล้วพวกเขาจะถูกส่งกลับมาที่ห้องเดิมในตอนแรก ซึ่งตอนนี้ลูกบอลสีดำภายในห้องก็จะประกาศคะแนนของแต่ละคน โดยในตอนนี้สามารถออกนอกห้�! �งนี้ไปใช้ชีวิตปกติได้แล้ว โดยเมื่อเวลาผ่านไปก็จะถูกเรียกให้กลับมาที่ห้องนี้เพื่อทำภาระกิจต่อไปพร้อมกับกลุ่มคนใหม่ที่พึ่งเสียชีวิตและกลุ่มคนที่รอดตายจากภาระกิจที่แล้วก็จะร่วมกันทำภาระกิจใหม่ โดยใครทำได้ 100 คะแนนจะไม่ถูกเรียกกลับมาที่ห้องนี้อีกและคน คนนั้นก็จะถูกลบความจำเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ภายในห้องนั้นและสิ่งที่ทำไปทั้งหมด กลับไปเป็�! �คนปกติ.....


วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2550

อิสรภาพ

อิสรภาพ ในความหมายทั่วไป หมายถึงสภาวะที่เป็นอิสระ (นั่นคือ ไม่ถูกจำกัด ไม่ถูกกักขังหรือถูกตีตรวน)



สารบัญ
ดูบทความเสรีภาพ สำหรับเนื้อหาหลักของอิสรภาพในความหมายทางปรัชญาและประวัติศาสตร์
ชอง-ชาก รุสโซ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ได้ยืนยันว่าสภาพที่เป็นอิสระนั้น เป็นสิ่งที่ติดมากับความเป็นมนุษย์ เป็นหน้าที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของการมีวิญญาณและร่างกาย ผลสืบเนื่องก็คือการปฏิสัมพันธ์ต่อมาหลังจากการเกิด ล้วนแต่เป็นการสูญเสียความเป็นอิสรภาพไป ไม่ว่าจะเป็นทั้งโดยความสมัครใจและไม่สมัครใจ
การโหยหาอิสรภาพมักถูกใช้เพื่อปลุกระดมการปฏิวัติ ตัวอย่างเช่น ในบันทึกในไบเบิลที่กล่าวถึงการที่โมเสสได้นำผู้คนอพยพหนีจากความเป็นทาสไปสู่ความเป็นอิสระ ในสุนทรพจน์ที่มีชื่อเสียงของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เขากล่าวว่า
คำว่า อามา-กิ ตัวอักษรเขียนของชาวสุเมเรียน เป็นสัญลักษณ์เขียนเก่าแก่ที่สุดที่ทราบกัน ที่มีความหมายถึงอิสรภาพ



แนวโน้มนานาชาติ

เสรีภาพ
อิสรภาพ (การเมือง)
รายการของดัชนีบ่งชี้ของอิสรภาพ
อนุสรณ์

อนุสรณ์ มณีเทศ สมาชิกวงอาร์มแชร์ ตำแหน่งร้องนำ/กีตาร์ เกิด 11 ธันวาคม พ.ศ. 2524 น้ำหนัก 70 ก.ก. สูง 185 ซ.ม. จบชั้นมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปริญญาตรีสาขาวิชาภาพยนตร์และวิดีโอ ภาควิชานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง